...ยินดีต้อนรับท่านสู่...โครงการของสำนักงานปศุสัตว์อำเภอพรหมคีรี...จังหวัดนครศรีธรรมราช...ภายใต้การบริหารจัดการ..ของ...นายมนัส ชุมทอง...ปศุสัตว์อำเภอพรหมคีรี...

วันเสาร์ที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

โรคไข้หวัดสุกร

ความรู้เรื่อง โรคไข้หวัดสุกรสำหรับเกษตร
โรคไข้หวัดสุกร ทำให้เกิดโรคระบบทางเดินหายใจชนิดเฉียบพลันในสุกรทุกช่วงอายุ
มีผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจต่ออุตสาหกรรมการเลี้ยงสุกร โดยสาเหตุจากการติดเชื้อไวรัสไข้หวัดสุกร
คือไวรัสไข้หวัดใหญ่ชนิดเอ (Type A) ตระกูลเดียวกันกับเชื้อไวรัสไข้หวัดนก
อาการ
สุกรที่ติดเชื้อจะแสดงอาการทางระบบหายใจแบบเฉียบพลัน มีไข้สูง ซึม เบื่ออาหาร ไอ จาม
มีน้ำมูก อัตราการป่วยอาจสูงถึง 100% แต่สุกรจะฟื้นและหายป่วยอย่างรวดเร็วภายใน 5-7 วัน มักไม่พบ
การตายถ้าไม่มีการติดเชื้อแทรกซ้อน มีผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจต่ออุตสาหกรรมการเลี้ยงสุกร
โดยเฉพาะในสุกรหลังหย่านม ทำให้สุกรสูญเสียน้ำหนักในช่วงที่แสดงอาการ ทำให้ระยะเวลาที่ใช้ใน
การขุนสุกรนานขึ้น ในสุกรตั้งท้องอาจทำให้เกิดการแท้งเนื่องจากมีไข้สูง เชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่เป็นเชื้อ
ปฐมภูมิ ทำให้สุกรสามารถติดเชื้อแทรกซ้อนได้ง่าย และจัดเป็นหนึ่งในสาเหตุของโรคระบบทางเดิน
หายใจซับซ้อนในสุกร (Porcine Respiratory Disease Complex,PRDC)
รอยโรค
พบการอักเสบ และเนื้อตาย ตลอดช่องทางเดินหายใจ มีเลือดคั่งในปอดและช่องทางเดินหายใจ
พบการเกิดเนื้อตายเป็นหย่อมๆ และถุงลมปอดแฟบเป็นบางส่วน
การเก็บตัวอย่างส่งตรวจ
สัตวแพทย์จะดำเนินการเก็บตัวอย่างส่งตรวจวินิจฉัยโรคทางห้องปฎิบัติการ ดังนี้
- เก็บตัวอย่างป้ายจมูก จากสุกรที่เริ่มแสดงอาการป่วย ระยะมีไข้สูง น้ำมูกไหล แล้วรีบนำส่ง
ห้องปฎิบัติการภายใน 24 ชั่วโมง โดยการแช่เย็น
- กรณีซากที่ตายใหม่ๆ ให้เก็บตัวอย่างป้ายหลอดลม และปอด
การรักษา ป้องกัน และควบคุม
1. ให้มีการสุขาภิบาลการเลี้ยงสุกรที่ดี
1.1 ทำคอกให้สะอาด ไม่ชื้นแฉะ มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก สุกรไม่อยู่ในที่หนาว เย็น
ร้อน หรือถูกฝนมากเกินไป
1.2 ให้อาหารที่มีคุณภาพ ถูกสัดส่วน และสะอาด รวมทั้งเสริมวิตามินในอาหารสุกร เพื่อ
เพิ่มความสมบูรณ์และลดความเครียดของสัตว์
1.3 เข้มงวดตรวจสอบให้นำสุกรที่ปลอดโรคเข้าเลี้ยงในฟาร์ม
1.4 เข้มงวดการเข้าออกฟาร์มของบุคคลและยานพาหนะ โดยใช้น้ำฆ่าเชื้ออย่างสม่ำเสมอ
1.5 เกษตรกรควรปรับระบบการเลี้ยงให้เข้าสู่ระบบฟาร์มมาตรฐาน ซึ่งจะช่วยป้องกัน
การเกิดโรคระบาดและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสุกรที่มีคุณภาพตามความต้องการ
ของตลาด ปลอดภัยต่อสุขภาพของผู้เลี้ยงสุกรและผู้บริโภค โดยเกษตรกรติดต่อ
รายละเอียดการจัดทำมาตรฐานฟาร์มได้ที่ปศุสัตว์อำเภอในพื้นที่หรือปศุสัตว์จังหวัด
2. สังเกตอาการป่วยของสุกรในฝูงอย่างสม่ำเสมอโดยอาการของสุกรที่ป่วยด้วยโรคไข้หวัดสุกร
จะแสดงอาการมีไข้ ซึม เบื่ออาหาร ไอจาม น้ำมูกไหล หากพบอาการดังกล่าวให้แจ้งเจ้าหน้าที่
ปศุสัตว์ทราบภายใน 24 ชั่วโมง
3. หลีกเลี่ยงการเลี้ยงสัตว์ปีกในบริเวณเดียวกับที่เลี้ยงสุกร เพื่อลดโอกาสที่จะเกิดการรวม
พันธุกรรมระหว่างเชื้อไวรัส ไข้หวัดนก และ ไข้หวัดสุกร
4. ห้ามผู้ป่วยที่มีอาการทางเดินหายใจ เช่น เป็นหวัด ไอจาม เข้าในคอกเลี้ยงสุกร
การควบคุมโรค
1. สุกรที่แสดงอาการป่วยให้รักษาตามอาการเช่นฉีดยาปฎิชีวนะหรืออาจต้องให้สารน้ำหาก
จำเป็น ส่วนสุกรที่เลี้ยงร่วมฝูงให้ยาปฎิชีวนะโดยผสมยาให้สุกรกิน เพื่อลดการแทรกซ้อนของ
เชื้อแบคทีเรียตามคำแนะนำของสัตวแพทย์
2. ใช้ยาฆ่าเชื้อทำความสะอาดคอก เช่น กลุ่มกลูตารอลดีไฮด์ กลุ่มแอมโมเนียมคลอไรด์
กลุ่มไอโอดีน เป็นต้น โดยหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดการฟุ้งกระจาย ซึ่งเชื้อไวรัสตัวนี้นอกจากจะถูก
ทำลายได้ง่ายด้วยยาฆ่าเชื้อโรคแล้ว ยังสามารถทำลายด้วยความร้อนที่อุณหภูมิ 56 องศา
เซลเซียส นาน 3 ชั่วโมง หรือ 60 องศาเซลเซียส นาน 30 นาที
3. งดการเคลื่อนย้ายสุกรหรือสับเปลี่ยนคอกในช่วงที่พบการเกิดโรค เนื่องจากอาจทำให้โรค
แพร่กระจายได้ง่าย
คำแนะนำสำหรับเกษตรกรในการป้องกันและควบคุมโรคไข้หวัดในสุกร
การป้องกันโรค
๑.ให้มีการสุขาภิบาลการเลี้ยงสุกรที่ดี
๑.๑ ทำคอกให้สะอาด ไม่ชื้นแฉะ มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก สุกรไม่อยู่ในที่หนาวเย็น ร้อน
หรือถูกฝนมากเกินไป
๑.๒ ให้อาหารที่มีคุณภาพ ถูกสัดส่วน และสะอาด รวมทั้งเสริมวิตามินในอาหารสุกร
เพื่อเพิ่มความสมบูรณ์และลดความเครียดของสัตว์
๑.๓ เข้มงวดตรวจสอบให้นำสุกรที่ปลอดโรคเข้าเลี้ยงในฟาร์ม
๑.๔ เข้มงวดการเข้าออกฟาร์มของบุคคลและยานพาหนะ โดยใช้น้ำฆ่าเชื้ออย่างสม่ำเสมอ
๑.๕ เกษตรกรควรปรับระบบการเลี้ยงให้เข้าสู่ระบบฟาร์มมาตรฐาน ซึ่งจะช่วยป้องกันการ
เกิดโรคระบาดและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสุกรที่มีคุณภาพตามความต้องการของ
ตลาด ปลอดภัยต่อสุขภาพของผู้เลี้ยงสุกรและผู้บริโภค โดยเกษตรกรติดต่อ
รายละเอียดการจัดทำมาตรฐานฟาร์มได้ที่ปศุสัตว์อำเภอในพื้นที่หรือปศุสัตว์จังหวัด
๒. สังเกตอาการป่วยของสุกรในฝูงอย่างสม่ำเสมอโดยอาการของสุกรที่ป่วยด้วยโรคไข้หวัดสุกร
จะแสดงอาการมีไข้ ซึม เบื่ออาหาร ไอจาม น้ำมูกไหล หากพบอาการดังกล่าวให้แจ้งเจ้าหน้าที่
ปศุสัตว์ทราบภายใน ๒๔ ชั่วโมง
๓. หลีกเลี่ยงการเลี้ยงสัตว์ปีกในบริเวณเดียวกับที่เลี้ยงสุกร เพื่อลดโอกาสที่จะเกิดการรวม
พันธุกรรมระหว่างเชื้อไวรัส ไข้หวัดนก และ ไข้หวัดสุกร
๔. ห้ามผู้ป่วยที่มีอาการทางเดินหายใจ เช่น เป็นหวัด ไอจาม เข้าในคอกเลี้ยงสุกร หากผู้เลี้ยงสุกร
หรือผู้ที่สัมผัสสุกรมีอาการป่วยในระบบทางเดินหายใจ ให้รีบไปพบแพทย์ทันที
การควบคุมโรค
๑.สุกรที่แสดงอาการป่วยให้รักษาตามอาการเช่นฉีดยาปฎิชีวนะหรืออาจต้องให้สารน้ำหากจำเป็น
ส่วนสุกรที่เลี้ยงร่วมฝูงให้ยาปฎิชีวนะโดยผสมยาให้สุกรกิน เพื่อลดการแทรกซ้อนของเชื้อ
แบคทีเรียตามคำแนะนำของสัตวแพทย์
๒.ใช้ยาฆ่าเชื้อทำความสะอาดคอก เช่นกลุ่มกลูตารอลดีไฮด์ กลุ่มแอมโมเนียมคลอไรด์
กลุ่มไอโอดีน โดยหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดการฟุ้งกระจาย ซึ่งเชื้อไวรัสตัวนี้นอกจากจะถูกทำลาย
ได้ง่ายด้วยยาฆ่าเชื้อโรคแล้ว ยังสามารถทำลายด้วยความร้อนที่อุณหภูมิ ๕๖ องศาเซลเซียส
นาน ๓ ชั่วโมง หรือ ๖๐ องศาเซลเซียส นาน ๓๐ นาที
๓. งดการเคลื่อนย้ายสุกรหรือสับเปลี่ยนคอกในช่วงที่พบการเกิดโรค เนื่องจากอาจทำให้โรค
แพร่กระจายได้ง่าย
ที่มา....http://www.dld.go.th/vrd_sp/svrdc/index1.htm

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น