...ยินดีต้อนรับท่านสู่...โครงการของสำนักงานปศุสัตว์อำเภอพรหมคีรี...จังหวัดนครศรีธรรมราช...ภายใต้การบริหารจัดการ..ของ...นายมนัส ชุมทอง...ปศุสัตว์อำเภอพรหมคีรี...

วันเสาร์ที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

โรค PRRS ในสุกร

การติดต่อ
เชื้อไวรัสจะถูกขับออกมาจากร่างกายของสุกรป่วย ทางอุจาระปัสสาวะลมหายใจ และน้ำเชื้อ และติดต่อไปยังสุกรตัวอื่นโดยการกิน หรือการสัมผัสโดยตรง เช่น การดม การเลีย หรือการผสมพันธุ์ นอกจากนี้ยังสามารถติดต่อผ่านอากาศที่หายใจ หรือผ่านวัสดุ อุปกรณ์และเครื่องใช้ต่าง ๆ ภายในฟาร์มที่ปนเปื้อนเชื้อไวรัส
เชื้อไวรัสสามารถแพร่ระบาดจากฟาร์มหนึ่งไปยังอีกฟาร์มหนึ่งได้โดยการเคลื่อนย้ายสุกรป่วย หรือสุกรที่เป็นพาหะของโรคเข้ามารวมฝูง โดยทั่วไปพบว่าเชื้อไวรัสที่ถูกขับออกจากร่างกายสุกรป่วย สามารถแพร่กระจายจากจุดเกิดโรคไปในอากาศได้ไกลถึงรัศมี 3 กิโลเมตร และหากมีองค์ประกอบของแรงลมเข้ามาเกี่ยวข้อง อาจทำให้โรคแพร่กระจายได้ไกลขึ้น นอกจากนี้ยังพบว่า โรคสามารถแพร่ระบาดผ่านทางน้ำเชื้อของพ่อพันธุ์ไปยังฟาร์มอื่น ๆ ได้ โดยเฉพาะการผสมเทียม หรือแพร่เชื้อ ผ่านวัสดุ อุปกรณ์ หรือยานพาหนะ ที่ปนเปื้อนเชื้อไวรัส รวมทั้งนก หนู หรือบุคลากรจากฟาร์มหนึ่งไปอีกฟาร์มหนึ่ง ส่วนการแพร่เชื้อไวรัสผ่านเนื้อสุกรหรือผลิตภัณฑ์จากเนื้อสุกรยังไม่เป็นที่ชัดเจน
อาการ

โดยลำพังเชื้อไวรัสพี อาร์ อาร์ เอส เพียงอย่างเดียว ไม่สามารถทำให้สุกรแสดงอาการให้เห็นอย่างเด่นชัด แต่ต้องอาศัยปัจจัยอื่น ๆ มาประกอบกัน จึงทำให้แสดงอาการของโรคได้ อาการ และความรุนแรงของโรคขึ้นอยู่กับชนิดของเชื้อไวรัส การจัดการดูแลสุขภาพสัตว์ความสะอาดในฟาร์ม การถ่ายเทอากาศภายในโรงเรือน และสุขภาพของสุกรในฝูง

เมื่อมีการติดเชื้อไวรัส พี อาร์ อาร์ เอส ครั้งแรกในฟาร์ม เชื้อจะแพร่ระบาดไปอย่างรวดเร็วสุกรพันธุ์จะแท้งในช่วงท้ายของการตั้งท้อง มีลูกตายแรกคลอด หรืออ่อนแอ แคระแกร็น โตช้า สุกรดูดนมจะมีปัญหาเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ เชื้อไวรัสที่แพร่ระบาดในฟาร์มนี้จะกระตุ้น ให้สุกรส่วนใหญ่สร้างภุมิคุ้มกัน หลังจากนั้นเชื้อจะแพร่ระบาดในฟาร์มอย่างช้า ๆ การสูญเสียจะไม่รุนแรงส่วนใหญ่สร้างภูมิคุ้มกัน หลังจากนั้นเชื้อจะแพร่ระบาดในฟาร์มอย่างช้า ๆ การสูญเสียจะไม่รุนแรงส่วนใหญ่จะเป็นลักษณะแอบแฝง เช่น ผลผลิตต่ำ หรือ มีการติดเชื้อแทรกซ้อนจากแบคทีเรียหรือไวรัสตัวอื่น ๆ ซึ่งปัญหาที่พบหลังจากที่ผ่านการระบาดครั้งแรกมาแล้ว คือ ปัญหาระบบทางเดินหายใจในสุกรหย่านม เนื่องจากภูมิคุ้มกันโรคที่ได้รับถ่ายทอดจากแม่ลดลง
การวินิจฉัยโรค
การวินิจฉัยโรคโดยการตรวจหาภูมิคุ้มกัน โรคต่อเชื้อพี อาร์ อาร์ เอส และการตรวจแยกพิสูจน์เชื้อ โดยการเก็บตัวอย่างซีรั่มจากแม่สุกรที่แท้งลูก สุกรที่แท้งหรือตายแรกคลอด ซีรั่มของลูกสุกรป่วยหรืออวัยวะ เช่น ต่อมน้ำเหลือง ทอนซิล ม้าม ปอด หรือส่งทั้งตัว โดยแช่เย็นในกระติกน้ำแข็ง และนำส่งทันที ถ้าไม่สามารถส่งตรวจได้ในวันนั้น ให้เก็บแช่ช่องแข็งและควรส่งตรวจ ภายใน 3 วัน โดยส่งตรวจได้ที่ สถาบันสุขภาพสัตว์แห่งชาติ กรมปศุสัตว์
การรักษา
เนื่องจากโรค พี อาร์ อาร์ เอส มีสาเหตุจากเชื้อไวรัสจึงยังไม่มียารักษาโดยเฉพาะ การรักษาสุกรที่ป่วยโรคนี้ จึงเป็นการรักษาตามอาการป่วย และการบำรุงร่างกายสัตว์ป่วย เช่น การให้สารเกลือแร่ วิตามิน การเปลี่ยนสูตรอาหารที่ให้พลังงานสูง และให้ยาปฏิชีวนะ เพื่อป้องกันการติดเชื้อแทรกซ้อน ซึ่งอาจให้โดยการฉีด ผสมน้ำ หรือผสมอาหาร
การป้องกันโรค

1. สุกรที่จะนำเข้ามาทดแทนในฝูง ควรมาจากแหล่งที่ปลอดเชื้อไวรัสพี อาร์ อาร์ เอส

2. ก่อนจะนำสุกรใหม่เข้ามารวมฝูง ควรทำการกักกันอย่างน้อย 2 ขั้นตอน คือ กักที่ต้นทางก่อนการเคลื่อนย้าย และกักที่ปลายทางก่อนนำเข้ารวมฝูง ซึ่ง ระหว่างที่กักควรสุ่มตรวจหาโรค โดยวิธีทางซีรั่มวิทยาด้วย

3. จำกัดและควบคุมการเข้าออกฟาร์ม โดยอาจให้มีการเปลี่ยนเสื้อผ้า หรือพ่น น้ำยาฆ่าเชื้อก่อนเข้าฟาร์ม

4. ปัจจุบัน วัคซีนสำหรับป้องกันโรคพี อาร์ อาร์ เอส ที่มีอยู่ ยังมีข้อจำกัดใน การใช้อยู่หลายประการ ซึ่งเกษตรกรควรคำนึงถึง ดังนี้

4.1 ราคาแพง ดังนั้นควรคำนึงถึงความคุ้มทุน โดยเปรียบเทียบค่าใช้จ่ายในการทำวัคซีน และความสูญเสียที่จะเกิดขึ้นกรณีที่ไม่ใช้วัคซีน เพราะโรคนี้ หากมีการจัดการที่ดี จะไม่ทำให้ เกิดอาการที่รุนแรง

4.2 ชนิดของเชื้อที่นำมาทำวัคซีน หากไม่ใช่เชื้อชนิดเดียวกัน หรือใกล้เคียงกับชนิดที่ทำให้เกิดโรคในฟาร์มจะให้ภูมิคุ้ม กันโรคที่ไม่ดี

4.3 ภูมิคุ้มกันที่เกิดขึ้นและตรวจพบจากซีรั่มไม่สามารถแยก ได้ว่าเกิดจากวัคซีนหรือการติดเชื้อ

4.4 วัคซีนที่ผลิตจากเนื้อเยื่อที่ไม่บริสุทธิ์ อาจนำโรคอื่น ๆ ติด มาถึงสุกรได้

4.5 การใช้วัคซีนเชื้อเป็นเชื้อไวรัสสามารถผ่านออกมาทางน้ำ เชื้อได้เป็นเวลานาน และอาจมีผลให้ตัวอสุจิมีรูปร่างผิดปกติและเคลื่อนไหวช้าลง นอกจากนี้ในสุกรอุ้มท้อง อาจผ่านรกไปถึงลูกอ่อน ทำให้เกิดการติดเชื้อในลูกอ่อนได้
ที่มา....http://www.doae.go.th/library/html/detail/a-web/index.html
โรค พี อาร์ อาร์ เอส
(PRRS: Porcine reproductive and respiratory syndrome)
เป็นโรคหรือกลุ่มอาการในระบบสืบพันธุ์และระบบทางเดินหายใจในสุกร มีสาเหตุ
มาจากเชื้อไวรัส Family Arteriviridae ชนิด PRRS virus
การติดต่อ
สุกรป่วยจะขับเชื้อไวรัสออกมากับอุจจาระ ปัสสาวะ ลมหายใจ น้ำเชื้อ และ
สิ่งคัดหลั่ง เช่น น้ำมูก น้ำเมือก ดังนั้นการแพร่เชื้อไปยังสุกรตัวอื่น จะเกิดได้โดย
การดม การเลีย การกินอาหาร–น้ำร่วมกัน การผสมพันธุ์ และการติดเชื้อผ่านทาง
อุปกรณ์–เครื่องมือในฟาร์มที่มีเชื้อไวรัสปนเปื้อน การแพร่ระบาดของเชื้อจาก
ฟาร์มหนึ่งไปยังอีกฟาร์มหนึ่งเกิดขึ้นได้ โดยการนำสุกรป่วยหรือสุกรที่เป็นพาหะ
ของโรคเข้าร่วมฝูง นอกจากนี้เชื้อไวรัสที่ถูกขับออกมาจากร่างกายสุกรก็สามารถ
แพร่กระจายไปในอากาศได้ไกลถึง 3 กิโลเมตร

อาการ
ในแม่สุกร จะแท้งในช่วงท้ายของการตั้งท้อง ลูกตายแรกคลอด หรือหาก
ลูกไม่ตายแรกคลอด จะมีอาการอ่อนแอ แคระแกร็น โตช้า
ในลูกสุกรและสุกรขุน จะมีปัญหาในระบบทางเดินหายใจ ลำพังเชื้อไวรัส
PRRS เพียงอย่างเดียวไม่ทำให้สุกรแสดงอาการอย่างเด่นชัด แต่จะมีปัจจัยอื่น ๆ
มาร่วมด้วย เช่น สุขภาพของสุกร การมีโรคอื่นแทรกซ้อน การสุขาภิบาลภายใน
ฟาร์ม ปัจจัยเครียดต่างๆ เป็นต้น
เชื้อไวรัส PRRS ที่แพร่ระบาดภายในฟาร์มจะกระตุ้นให้สุกรส่วนใหญ่สร้าง
ภูมิคุ้มกัน จากนั้นเชื้อไวรัสจะแพร่ระบาดในฟาร์มอย่างช้า ๆ ดังนั้นการสูญเสียจึง
ไม่รุนแรง แต่มักเป็นการสูญเสียแบบแอบแฝง เช่น สุกรให้ผลผลิตต่ำ ติดเชื้อ
แทรกซ้อนจากเชื้อโรคตัวอื่นได้ง่าย
ลูกสุกรมีอาการหูบวมน้ำ
แม่สุกรแท้งลูกออกมาในลักษณะมัมมี่
แม่สุกรแท้งลูกออกมาในลักษณะตายแรกคลอด
การวินิจฉัยโรค
ทำได้ 2 ทาง คือ การตรวจหา Antigen และ การตรวจหา Antibody
1. การตรวจหา antigen สามารถทำได้โดยนำอวัยวะจากสุกร ได้แก่ ต่อม
ทอนซิล ปอด ม้าม ต่อมน้ำเหลือง แช่เย็นส่งไปตรวจทางห้องปฏิบัติการ โดยใช้
เทคนิคต่างๆ ได้แก่
1.1 Tissue culture
1.2 Fluorescence antibody technique (FA)
1.3 Immunohistochemistry (IHC)
1.4 Polymerase chain reaction (PCR)
2. การตรวจหา antibody สามารถตรวจ antibody ได้จาก serum หรือ body
fluid จากลูกที่แท้งหรือลูกที่ตายแรกคลอด โดยใช้เทคนิค เช่น ELISA (Enzyme
linked immunosorbent assay) หรือ IPMA (Immuno peroxidase monolayer
assay)

การรักษา
ไม่มีการรักษาโรค PRRS โดยตรง เพราะเป็นโรคที่มีสาเหตุเนื่องมาจากเชื้อ
ไวรัส การรักษาที่สามารถทำได้คือ การรักษาตามอาการ และการให้ยาปฏิชีวนะ
ป้องกันการติดเชื้อโรคแทรกซ้อนร่วมกับการให้ยาหรือสารอาหารเพื่อบำรุงร่างกาย
การป้องกันโรค

1. การนำสุกรเข้ามาทดแทนในฝูง ต้องมั่นใจว่านำมาจากแหล่งที่ปลอดโรค PRRS
และก่อนนำสุกรตัวใหม่เข้าร่วมฝูง ต้องทำการกักเพื่อทดสอบโรคทางซีรั่ม
วิทยาด้วย เพื่อให้มั่นใจสุกรทดแทนดังกล่าวปลอดโรค PRRS จริง
2. มีมาตรการควบคุมการเข้า–ออกฟาร์ม เช่น การใช้น้ำยาฆ่าเชื้อโรคพ่นรถยนต์
การเปลี่ยนเสื้อผ้า และ/หรือ อาบน้ำร่วมกับการพ่นน้ำยาฆ่าเชื้อก่อนเข้าฟาร์ม
เป็นต้น
3. การใช้วัคซีน ปัจจุบันวัคซีนป้องกันโรค PRRS ยังมีข้อจำกัดในการใช้
หลายประการ ได้แก่
3.1 เนื่องจาก PRRS virus มีหลายไทป์ ดังนั้นหากใช้วัคซีนต่างไทป์ ก็จะได้
ภูมิคุ้มกันโรคไม่ดีพอ
3.2 การตรวจหาระดับภูมิคุ้มกันจากซีรั่มไม่สามารถแยกได้ว่าเป็นภูมิคุ้มกันจาก
การทำวัคซีน หรือจากการติดเชื้อ
3.3 การใช้วัคซีนเชื้อเป็นจะส่งผลทำให้สุกรขับเชื้อไวรัสผ่านออกมากับน้ำอสุจิ

ได้เป็นเวลานาน บางรายมีผลทำให้ตัวอสุจิมีรูปร่างผิดปกติ และ

เคลื่อนไหวช้าลง ในสุกรอุ้มท้องเชื้อไวรัสอาจผ่านรกไปสู่ลูกอ่อน ทำให้

ลูกสุกรติดเชื้อได้

3.4 วัคซีนมีราคาแพง ซึ่งเกษตรกรต้องคำนวณเกี่ยวกับความคุ้มทุน โดย

เปรียบเทียบค่าใช้จ่ายในการทำวัคซีน กับความสูญเสียที่อาจเกิดขึ้นจาก

การไม่ใช้วัคซีน เพราะโรคนี้หากมีการจัดการฟาร์มที่ดีก็ไม่ทำให้เกิดอาการรุนแรง

การควบคุมโรค
1. มีการสุขาภิบาลและการจัดการฟาร์มที่ดี
2. การเฝ้าระวังโรค PRRS ในฟาร์มโดยการทำ serological profiles โดยเจาะ
เลือดตรวจโรคทุก 4 เดือน ดังนี้
ในแม่สุกรหลังคลอด 1 สัปดาห์ สุ่มตรวจ 5 – 10 ตัว/ครั้ง
ในแม่สุกรหลังคลอด 3 สัปดาห์ สุ่มตรวจ 5 – 10 ตัว/ครั้ง
ในลูกสุกรอายุ 4,6,8,10 สัปดาห์ สุ่มตรวจ กลุ่มละ 5 – 10 ตัว/ครั้ง
ในสุกรสาวทดแทนพร้อมผสม สุ่มตรวจ 5 – 10 ตัว/ครั้ง
การตรวจรับรองฟาร์มปลอดโรคPRRSในฟาร์มสุกรพ่อแม่พันธุ์
1. คุณสมบัติของฟาร์มที่จะเข้าร่วมโครงการ
1.1 เป็นฟาร์มมาตรฐานที่ได้รับการรับรองจากกรมปศุสัตว์
1.2 มีระบบรักษาความปลอดภัยทางชีวภาพ (high biosecurity) และการ
จัดการฟาร์มที่ดี
1.3 เป็นฟาร์มสุกร SPF (Specific pathogen free) หรือฟาร์มสร้างใหม่
หรือฟาร์มเดิมที่ผ่านการทำการลดจำนวน (depopulation) ของสุกรใน
ฟาร์ม แล้วทำความสะอาดฆ่าเชื้อและพักฟาร์มระยะหนึ่งก่อนนำสุกร
ชุดใหม่เข้าเลี้ยง
2. ขั้นตอนในการตรวจและรับรองฟาร์มปลอดโรค PRRS ในฟาร์มสุกรพ่อ-
แม่พันธุ์
2.1 ผู้ประกอบการที่มีความพร้อม ให้ยื่นคำร้องขอการตรวจรับรองสถานภาพ
ฟาร์มปลอดโรค PRRS ได้ที่ สถาบันสุขภาพสัตว์แห่งชาติ กรมปศุสัตว์
เพื่อดำเนินการตามขั้นตอนดังต่อไปนี้
2.2 การตรวจครั้งที่ 1 ให้ทางฟาร์มเก็บตัวอย่างซีรัมและส่งตัวอย่างที่ กลุ่ม
ไวรัสวิทยา สถาบันสุขภาพสัตว์แห่งชาติ กรมปศุสัตว์ เพื่อตรวจ
แอนติบอดีต่อเชื้อ PRRS ด้วยวิธี ELISA และตรวจ RNA ของเชื้อไวรัส

ด้วยวิธี reverse transcriptase polymerase chain reaction (RT-PCR)

โดยเก็บตัวอย่างซีรัมจาก สุกรพ่อ-แม่พันธุ์ทุกตัว ที่อยู่ในฟาร์ม

(100%) รวม 10-20 ตัวอย่างซีรัม เป็น 1 ตัวอย่าง สำหรับตรวจ RNA

ในลูกสุกร ให้เก็บตัวอย่างซีรัมจำนวน 15 ตัว/กลุ่มอายุ ที่อายุ 4,8,12,16

และ 20 สัปดาห์ (ที่ความชุกของการติดเชื้อ 20% ความเชื่อมั่นในการ

ตรวจ 95%)

2.3 การตรวจครั้งที่ 2 เก็บตัวอย่างซีรัมห่างจากครั้งแรก 2-3 สัปดาห์ จากสุกร

พ่อ-แม่พันธุ์ทุกตัวในฟาร์ม (100%) และลุกสุกรจำนวน 15 ตัว/กลุ่มอายุ

และตรวจซ้ำด้วย 2 วิธีดังกล่าว

2.4 กรมปศุสัตว์จะออกใบรับรองฟาร์มปลอดโรค PRRS ให้แก่ทางฟาร์ม เมื่อ

ตรวจไม่พบแอนติบอดี และ RNA ของเชื้อ PRRS จากการตรวจทั้ง 2 ครั้ง

ติดต่อกัน โดยที่ใบรับรองฟาร์มปลอดโรค PRRS มีอายุใช้งาน 1 ปี นับแต่

วันออกใบรับรอง

2.5 สุกรทดแทนนำเข้า ต้องมาจากฟาร์มที่ปลอดโรค PRRS ก่อนนำเข้าร่วมฝูง

ต้องมีการพักในโรงเรือนแยกต่างหากช่วงระยะเวลาหนึ่ง เพื่อเตรียมพร้อม

และปรับสภาพ และต้องผ่านการตรวจสถานภาพของโรค PRRS ด้วย 2

วิธีดังกล่าว โดยเก็บตัวอย่างซีรัมสุกรทดแทนทุกตัว ณ วันแรกที่มาถึง

ฟาร์ม และ 1 เดือนหลังจากนั้น สุกรทดแทนที่ผ่านการตรวจว่าปลอดโรค

PRRS จึงสามารถนำเข้ารวมฝูงได้

2.6 เมื่อฟาร์มได้รับการรับรองว่าปลอดโรค PRRS แล้ว จะทำการตรวจซ้ำด้วย

2 วิธีดังกล่าว ทุก ๆ 4 เดือน (3 ครั้ง/ปี) โดยสุ่มตรวจสุกรพ่อ-แม่พันธุ์ใน

ฝูง ที่ความชุกของการติดเชื้อ 5% ความเชื่อมั่นในการตรวจ 95% และลูก

สุกรที่อายุต่าง ๆ จำนวน 15 ตัว/กลุ่มอายุ

2.7 ในกรณีที่ไม่ผ่านการทดสอบในการตรวจครั้งใดครั้งหนึ่ง จะถูกถอน

ใบรับรองฟาร์มปลอดโรค PRRS และเมื่อผู้ประกอบการมีความพร้อม ให้

ยื่นคำขอการตรวจรับรองใหม่ โดยต้องเริ่มตรวจใหม่ทั้งหมดตามขั้นตอน

2.5-2.6

3. ค่าใช้จ่ายในการตรวจ

3.1 ตรวจทางซีรัมวิทยา โดยวิธี ELISA 250 บาท/ตัวอย่าง

3.2 ตรวจ RNA ของเชื้อไวรัส 1,500 บาท/ตัวอย่าง(รวมตัวอย่างซีรัม

จากสุกร 10-20 ตัว เป็น 1 ตัวอย่าง)

การคำนวณที่ความชุกของการติดเชื้อ 5% ความเชื่อมั่นในการตรวจ

95%

ฝูงสุกรขนาด 500 แม่ ต้องเก็บตัวอย่างสุกร 65 ตัว

600-1,200 แม่ ต้องเก็บตัวอย่างสุกร 57 ตัว

1,400-4,000 แม่ ต้องเก็บตัวอย่างสุกร 58 ตัว

>5,000 แม่ ต้องเก็บตัวอย่างสุกร 59 ตัว

(อ้างอิงจาก Cannon,R.M. and Roe., R.T ; Livestock Disease Surveys: A

Field Manual for Veterinarians,1982)

นิยามที่ใช้ในการตรวจรับรองฟาร์มปลอดโรคPRRS

ฟาร์ม หมายถึง ฟาร์มที่ผลิตสุกรที่ปลอดโรค PRRS

ฟาร์มมาตรฐาน หมายถึง ฟาร์มที่ผ่านการตรวจรับรองมาตรฐานฟาร์มเลี้ยงสุกร

ตามประกาศของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ลงวันที่ 3 พฤศจิกายน 2542

ผู้ประกอบการ หมายถึง เจ้าของฟาร์มที่ขอรับรองการตรวจเป็นฟาร์มปลอดโรค

PRRS

การรับรองฟาร์มปลอดโรค PRRS หมายถึง ฟาร์มที่ผ่านการตรวจตามขั้นตอน

ที่กำหนดว่าปลอดจากโรค PRRS

ใบรับรองฟาร์มปลอดโรค PRRS หมายถึง ใบรับรองที่ทางกรมปศุสัตว์ออก

ให้แก่ฟาร์มที่ผ่านการตรวจรับรองตามขั้นตอนที่กำหนด โดยที่ใบรับรองมีอายุใช้

งาน 1 ปี นับแต่วันออกใบรับรอง

ที่มา...http://www.dld.go.th/region6/water/job/PRRS.pdf

โรคไข้หวัดสุกร

ความรู้เรื่อง โรคไข้หวัดสุกรสำหรับเกษตร
โรคไข้หวัดสุกร ทำให้เกิดโรคระบบทางเดินหายใจชนิดเฉียบพลันในสุกรทุกช่วงอายุ
มีผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจต่ออุตสาหกรรมการเลี้ยงสุกร โดยสาเหตุจากการติดเชื้อไวรัสไข้หวัดสุกร
คือไวรัสไข้หวัดใหญ่ชนิดเอ (Type A) ตระกูลเดียวกันกับเชื้อไวรัสไข้หวัดนก
อาการ
สุกรที่ติดเชื้อจะแสดงอาการทางระบบหายใจแบบเฉียบพลัน มีไข้สูง ซึม เบื่ออาหาร ไอ จาม
มีน้ำมูก อัตราการป่วยอาจสูงถึง 100% แต่สุกรจะฟื้นและหายป่วยอย่างรวดเร็วภายใน 5-7 วัน มักไม่พบ
การตายถ้าไม่มีการติดเชื้อแทรกซ้อน มีผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจต่ออุตสาหกรรมการเลี้ยงสุกร
โดยเฉพาะในสุกรหลังหย่านม ทำให้สุกรสูญเสียน้ำหนักในช่วงที่แสดงอาการ ทำให้ระยะเวลาที่ใช้ใน
การขุนสุกรนานขึ้น ในสุกรตั้งท้องอาจทำให้เกิดการแท้งเนื่องจากมีไข้สูง เชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่เป็นเชื้อ
ปฐมภูมิ ทำให้สุกรสามารถติดเชื้อแทรกซ้อนได้ง่าย และจัดเป็นหนึ่งในสาเหตุของโรคระบบทางเดิน
หายใจซับซ้อนในสุกร (Porcine Respiratory Disease Complex,PRDC)
รอยโรค
พบการอักเสบ และเนื้อตาย ตลอดช่องทางเดินหายใจ มีเลือดคั่งในปอดและช่องทางเดินหายใจ
พบการเกิดเนื้อตายเป็นหย่อมๆ และถุงลมปอดแฟบเป็นบางส่วน
การเก็บตัวอย่างส่งตรวจ
สัตวแพทย์จะดำเนินการเก็บตัวอย่างส่งตรวจวินิจฉัยโรคทางห้องปฎิบัติการ ดังนี้
- เก็บตัวอย่างป้ายจมูก จากสุกรที่เริ่มแสดงอาการป่วย ระยะมีไข้สูง น้ำมูกไหล แล้วรีบนำส่ง
ห้องปฎิบัติการภายใน 24 ชั่วโมง โดยการแช่เย็น
- กรณีซากที่ตายใหม่ๆ ให้เก็บตัวอย่างป้ายหลอดลม และปอด
การรักษา ป้องกัน และควบคุม
1. ให้มีการสุขาภิบาลการเลี้ยงสุกรที่ดี
1.1 ทำคอกให้สะอาด ไม่ชื้นแฉะ มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก สุกรไม่อยู่ในที่หนาว เย็น
ร้อน หรือถูกฝนมากเกินไป
1.2 ให้อาหารที่มีคุณภาพ ถูกสัดส่วน และสะอาด รวมทั้งเสริมวิตามินในอาหารสุกร เพื่อ
เพิ่มความสมบูรณ์และลดความเครียดของสัตว์
1.3 เข้มงวดตรวจสอบให้นำสุกรที่ปลอดโรคเข้าเลี้ยงในฟาร์ม
1.4 เข้มงวดการเข้าออกฟาร์มของบุคคลและยานพาหนะ โดยใช้น้ำฆ่าเชื้ออย่างสม่ำเสมอ
1.5 เกษตรกรควรปรับระบบการเลี้ยงให้เข้าสู่ระบบฟาร์มมาตรฐาน ซึ่งจะช่วยป้องกัน
การเกิดโรคระบาดและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสุกรที่มีคุณภาพตามความต้องการ
ของตลาด ปลอดภัยต่อสุขภาพของผู้เลี้ยงสุกรและผู้บริโภค โดยเกษตรกรติดต่อ
รายละเอียดการจัดทำมาตรฐานฟาร์มได้ที่ปศุสัตว์อำเภอในพื้นที่หรือปศุสัตว์จังหวัด
2. สังเกตอาการป่วยของสุกรในฝูงอย่างสม่ำเสมอโดยอาการของสุกรที่ป่วยด้วยโรคไข้หวัดสุกร
จะแสดงอาการมีไข้ ซึม เบื่ออาหาร ไอจาม น้ำมูกไหล หากพบอาการดังกล่าวให้แจ้งเจ้าหน้าที่
ปศุสัตว์ทราบภายใน 24 ชั่วโมง
3. หลีกเลี่ยงการเลี้ยงสัตว์ปีกในบริเวณเดียวกับที่เลี้ยงสุกร เพื่อลดโอกาสที่จะเกิดการรวม
พันธุกรรมระหว่างเชื้อไวรัส ไข้หวัดนก และ ไข้หวัดสุกร
4. ห้ามผู้ป่วยที่มีอาการทางเดินหายใจ เช่น เป็นหวัด ไอจาม เข้าในคอกเลี้ยงสุกร
การควบคุมโรค
1. สุกรที่แสดงอาการป่วยให้รักษาตามอาการเช่นฉีดยาปฎิชีวนะหรืออาจต้องให้สารน้ำหาก
จำเป็น ส่วนสุกรที่เลี้ยงร่วมฝูงให้ยาปฎิชีวนะโดยผสมยาให้สุกรกิน เพื่อลดการแทรกซ้อนของ
เชื้อแบคทีเรียตามคำแนะนำของสัตวแพทย์
2. ใช้ยาฆ่าเชื้อทำความสะอาดคอก เช่น กลุ่มกลูตารอลดีไฮด์ กลุ่มแอมโมเนียมคลอไรด์
กลุ่มไอโอดีน เป็นต้น โดยหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดการฟุ้งกระจาย ซึ่งเชื้อไวรัสตัวนี้นอกจากจะถูก
ทำลายได้ง่ายด้วยยาฆ่าเชื้อโรคแล้ว ยังสามารถทำลายด้วยความร้อนที่อุณหภูมิ 56 องศา
เซลเซียส นาน 3 ชั่วโมง หรือ 60 องศาเซลเซียส นาน 30 นาที
3. งดการเคลื่อนย้ายสุกรหรือสับเปลี่ยนคอกในช่วงที่พบการเกิดโรค เนื่องจากอาจทำให้โรค
แพร่กระจายได้ง่าย
คำแนะนำสำหรับเกษตรกรในการป้องกันและควบคุมโรคไข้หวัดในสุกร
การป้องกันโรค
๑.ให้มีการสุขาภิบาลการเลี้ยงสุกรที่ดี
๑.๑ ทำคอกให้สะอาด ไม่ชื้นแฉะ มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก สุกรไม่อยู่ในที่หนาวเย็น ร้อน
หรือถูกฝนมากเกินไป
๑.๒ ให้อาหารที่มีคุณภาพ ถูกสัดส่วน และสะอาด รวมทั้งเสริมวิตามินในอาหารสุกร
เพื่อเพิ่มความสมบูรณ์และลดความเครียดของสัตว์
๑.๓ เข้มงวดตรวจสอบให้นำสุกรที่ปลอดโรคเข้าเลี้ยงในฟาร์ม
๑.๔ เข้มงวดการเข้าออกฟาร์มของบุคคลและยานพาหนะ โดยใช้น้ำฆ่าเชื้ออย่างสม่ำเสมอ
๑.๕ เกษตรกรควรปรับระบบการเลี้ยงให้เข้าสู่ระบบฟาร์มมาตรฐาน ซึ่งจะช่วยป้องกันการ
เกิดโรคระบาดและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสุกรที่มีคุณภาพตามความต้องการของ
ตลาด ปลอดภัยต่อสุขภาพของผู้เลี้ยงสุกรและผู้บริโภค โดยเกษตรกรติดต่อ
รายละเอียดการจัดทำมาตรฐานฟาร์มได้ที่ปศุสัตว์อำเภอในพื้นที่หรือปศุสัตว์จังหวัด
๒. สังเกตอาการป่วยของสุกรในฝูงอย่างสม่ำเสมอโดยอาการของสุกรที่ป่วยด้วยโรคไข้หวัดสุกร
จะแสดงอาการมีไข้ ซึม เบื่ออาหาร ไอจาม น้ำมูกไหล หากพบอาการดังกล่าวให้แจ้งเจ้าหน้าที่
ปศุสัตว์ทราบภายใน ๒๔ ชั่วโมง
๓. หลีกเลี่ยงการเลี้ยงสัตว์ปีกในบริเวณเดียวกับที่เลี้ยงสุกร เพื่อลดโอกาสที่จะเกิดการรวม
พันธุกรรมระหว่างเชื้อไวรัส ไข้หวัดนก และ ไข้หวัดสุกร
๔. ห้ามผู้ป่วยที่มีอาการทางเดินหายใจ เช่น เป็นหวัด ไอจาม เข้าในคอกเลี้ยงสุกร หากผู้เลี้ยงสุกร
หรือผู้ที่สัมผัสสุกรมีอาการป่วยในระบบทางเดินหายใจ ให้รีบไปพบแพทย์ทันที
การควบคุมโรค
๑.สุกรที่แสดงอาการป่วยให้รักษาตามอาการเช่นฉีดยาปฎิชีวนะหรืออาจต้องให้สารน้ำหากจำเป็น
ส่วนสุกรที่เลี้ยงร่วมฝูงให้ยาปฎิชีวนะโดยผสมยาให้สุกรกิน เพื่อลดการแทรกซ้อนของเชื้อ
แบคทีเรียตามคำแนะนำของสัตวแพทย์
๒.ใช้ยาฆ่าเชื้อทำความสะอาดคอก เช่นกลุ่มกลูตารอลดีไฮด์ กลุ่มแอมโมเนียมคลอไรด์
กลุ่มไอโอดีน โดยหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดการฟุ้งกระจาย ซึ่งเชื้อไวรัสตัวนี้นอกจากจะถูกทำลาย
ได้ง่ายด้วยยาฆ่าเชื้อโรคแล้ว ยังสามารถทำลายด้วยความร้อนที่อุณหภูมิ ๕๖ องศาเซลเซียส
นาน ๓ ชั่วโมง หรือ ๖๐ องศาเซลเซียส นาน ๓๐ นาที
๓. งดการเคลื่อนย้ายสุกรหรือสับเปลี่ยนคอกในช่วงที่พบการเกิดโรค เนื่องจากอาจทำให้โรค
แพร่กระจายได้ง่าย
ที่มา....http://www.dld.go.th/vrd_sp/svrdc/index1.htm

การดำเนินการเมื่อพบสุกรสงสัยว่าเป็นโรค PRRS

การดำเนินการเมื่อพบสุกรสงสัยว่าเป็นโรค PRRS


เมื่อปศุสัตว์อำเภอได้รับแจ้งว่ามีสุกรป่วย-ตาย ให้ดำเนินการ ดังนี้
1) ตรวจสอบข้อมูลในเบื้องต้นแล้วพบสุกรป่วยและมีลักษณะใกล้เคียงหรือตรงตามคำนิยามโรค
PRRS และดำเนินการสอบสวนโรคในเบื้องต้นโดยด่วน
2) ให้สำนักงานปศุสัตว์อำเภอดำเนินการเก็บตัวอย่างตามข้อ 2.1 และ 2.2 ดังนี้
2.1) เก็บตัวอย่างจากสุกร กำลังป่วยใกล้ตาย หรือซากสุกรที่ตายใหม่ไปยังศูนย์วิจัยและ
พัฒนาการสัตวแพทย์ (ศวพ.) ที่รับผิดชอบพื้นที่ หรือ สถาบันสุขภาพสัตว์แห่งชาติ (สสช.)
2.2) ผ่าซากและเก็บตัวอย่างจากอวัยวะที่สำคัญ เช่น ทอนซิล ปอด ตับ ม้ามไต หัวใจ โดย
ในขั้นตอนการผ่าซากให้เป็นไปตามหลักวิชาการและป้องกันโรคปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อมด้วย
3) แนวทางการควบคุมโรค ดังนี้
3.1) สั่งกักสุกรภายในสถานที่เกิดโรค หากเป็นไปได้ ควรให้เจ้าของเป็นผู้ดำเนินการแยก
สัตว์ป่วย (isolation) จากสัตว์ที่มีอาการปกติ
3.2) แนะนำให้เกษตรกรดำเนินการ
? เผา หรือ ฝังซากสุกรที่ตาย โดยให้ฝังซากสุกรใต้ระดับผิวดินไม่น้อยกว่า50เซนติเมตร และถ้าเป็นสัตว์ใหญ่ให้พูนดินกลบเหนือระดับผิวดินไม่น้อยกว่า 50 เซนติเมตร โดยใช้สารเคมีทำลายเชื้อโรคราด หรือโรยที่ส่วนต่างๆ ของซากสัตว์จนทั่ว และเลือกสถานที่ฝังซากสุกรที่ไม่มีน้ำท่วมขัง
- กักกันและแยกสัตว์ที่อยู่ร่วมฝูงกับสัตว์ที่ป่วย-ตาย
- ปัดกวาดทำความสะอาดเล้าและพื้นที่เลี้ยงสัตว์ด้วยน้ำผงซักฟอก (detergent cleansing) หรือ ทำการพ่น/ราดน้ำยาฆ่าเชื้อโรค (disinfection) ให้ทั่วบริเวณที่เสี่ยงต่อการปนเปื้อนของ
เชื้อโรค อย่างน้อย สัปดาห์ละ 1 ครั้งหรืออย่างน้อยจนกว่าจะไม่พบสุกรป่วยและจัดให้มีอ่างใส่น้ำยาฆ่าเชื้อโรคสำหรับบุคคลที่เข้า-ออกคอกสัตว์

วันอาทิตย์ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

ไข้หวัดใหญ่ 2009

ผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช เรียกประชุมด่วนเจ้าหน้าที่ เจ้าของสถานประกอบการ ศูนย์การค้า ร้านอาหาร โรงเรียนและโรงพยาบาลทุกแห่งในพื้นที่ เพื่อเตรียมความพร้อมรับมือโรคไข้หวัดใหญ่ 2009 หลังมีผู้รับการรักษาตัวและเสียชีวิต 1 รายและเป็นรายที่ 19 ของประเทศ ในโรงพยาบาลอำเภอทุ่งสง สถานการณ์โรคไข้หวัดใหญ่ 2009 สร้างความตื่นกลัวแก่ประชาชนในพื้นที่ หลังจากมีรายงานผู้ติดเชื้อมาเข้ารับการรักษาตัวที่โรงพยาบาลประจำอำเภอทุ่งสง และเสียชีวิตเป็นรายแรกและเป็นรายที่ 19 ของประเทศเมื่อคืนที่ผ่านมา ล่าสุดเมื่อเวลา 15.00 น. วันนี้(12 ก.ค.52) นายภาณุ อุทัยรัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช ได้เรียกประชุมด่วนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ ผู้ประกอบการร้านค้า ศูนย์การค้า ร้านเกม โรงเรียน โรงแรมและโรงพยาบาลจากทุกแห่ง ทั้ง 23 อำเภอของจังหวัด เพื่อหารือถึงแนวทางการป้องกันการแพร่เชื้อ โดยเฉพาะในสถานศึกษา ซึ่งพรุ่งนี้จะเป็นวันเปิดการเรียนการสอน และสถานประกอบการศูนย์การค้า ร้านค้าและโรงแรม ที่ได้สั่งการกำชับให้ใช้มาตรการป้องกันขั้นสูงสุด และเร่งทำความสะอาดอย่างต่อเนื่อง โดยได้คาดโทษสถานประกอบการหากพบว่าเป็นแหล่งที่มีการแพร่ระบาดหรือติดเชื้อเกิดขึ้น จะต้องปิดกิจการในทันที นอกจากนี้ในการประชุมครั้งนี้ ยังได้สั่งการให้หน่วยงานเกี่ยวข้องแจ้งข้อมูลประชาสัมพันธ์สร้างความเข้าใจที่ถูกต้อง เพื่อไม่ให้ประชาชนตื่นตกใจพร้อมทั้งมอบหน้ากากอนามัย และ เจลล้างมือแจกจ่ายแก่ผู้เข้าร่วมประชุมเพื่อนำไปใช้ในองค์กร ก่อนที่อุปกรณ์ชุดใหญ่ ซึ่งองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครศรีธรรมราชได้สนับสนุนงบประมาณกว่า 2 ล้านบาทจัดซื้อจะถึงมือสถานประกอบการและโรงเรียนต่างๆ ทั่วจังหวัดภายในต้นสัปดาห์นี้ทั้งนี้จากการเปิดเผยข้อมูลของนายแพทย์นพพร ชื่นกลิ่น
นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดนครศรีธรรมราช พบว่าขณะนี้ ในจังหวัดนครศรีธรรมราชพบผู้ติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ 2009แล้ว จำนวน 36 ราย ในจำนวนนี้มี 9 รายเข้ารับการรักษาและหายจากโรคแล้ว ขณะที่อีก 9 ราย ยังคงนอนรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาลต่างๆ และจำนวน 2 รายกำลังรอผลจากห้องปฏิบัติการและจำนวน 16 ราย อยู่ระหว่างการเฝ้าระวัง ส่วนผู้เสียชีวิต รายที่ 19 ที่โรงพยาบาลทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช นั้นพบว่าเป็นผู้ป่วยที่มีอาการไข้สูง และ ปอดติดเชื้อ ซึ่งทางญาติได้นำตัวมาจาก อ.เขาพนม จ.กระบี่ เพื่อมาเข้ารับการรักษาตัวที่ โรงพยาบาลทุ่งใหญ่ อ.ทุ่งใหญ่ จ.นครศรีธรรมราช ซึ่งเป็นโรงพยาบาลใกล้เคียงและมีความพร้อมมากกว่า ก่อนที่ โรงพยาบาลทุ่งใหญ่ จะส่งตัวมาเข้ารับการรักษาต่อที่โรงพยาบาลทุ่งสง และ เสียชีวิตในเวลาต่อมา โดยล่าสุดทางสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครศรีธรรมราช ได้สั่งการให้มีการเฝ้าระวังเจ้าหน้าที่ที่ใกล้ชิดผู้ป่วยคนดังกล่าว ญาติผู้ป่วย เจ้าหน้าที่ รพ.ทุ่งใหญ่ และ รพ.ทุ่งสง เพื่อรอดูอาการและเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด.
มนัส ชุมทอง ปศุสัตว์อำเภอพรหมคีรี คัดลอกข่าวจาก..... สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดนครศรีธรรมราช

วันอังคารที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

โรคไข้หวัดหมู

ทำความรู้จัก โรคไข้หวัดหมู H1N1
ไข้หวัดหมู หรือ ไข้หวัดใหญ่ชนิดเอ สายพันธุ์ H1N1 เอชวันเอ็นวัน นับเป็นเชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ที่ไม่เคยพบมาก่อน ผลการวิเคราะห์ทางพันธุกรรมชี้ว่า เชื้อหวัดใหญ่ชนิดนี้เป็นส่วนผสมของไวรัสจากหมู มนุษย์ และสัตว์ปีก ผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่อยู่ในวัย 25-45 นับเป็นสัญญาณที่น่าวิตกว่าอาจเป็นโรคระบาด
ด้าน ดร.แนนซี่ ค็อกซ์ หัวหน้าฝ่ายวิจัยไข้หวัดใหญ่ ศูนย์ควบคุมโรค สหรัฐ แถลงว่า ไวรัสไข้หวัดหมูสายพันธุ์ใหม่มีลักษณะพันธุกรรม หรือยีน แตกต่างจากไวรัสไข้หวัดหมูในอดีต เพราะมีองค์ประกอบของเชื้อไข้หวัดใหญ่ 3 สายพันธุ์รวมอยู่ด้วยกัน ประกอบด้วย
1.เชื้อไข้หวัดนกที่พบในทวีปอเมริกาเหนือ
2.เชื้อไข้หวัดใหญ่ในมนุษย์ และ
3.เชื้อไข้หวัดหมูที่พบบ่อยในทวีปยุโรปและเอเชีย
ผู้ติดเชื้อจะมีอาการคล้ายกับผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่ เช่น ไข้ขึ้นสูง ติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ คลื่นไส้อาเจียน ท้องร่วง และปวดศีรษะรุนแรง
ผอ.สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กล่าวอีกว่า ขอย้ำว่าโรคนี้แม้เป็นสายพันธุ์หมู แต่ไม่เกี่ยวกับหมู ดังนั้นไม่อยากให้คนไทยแตกตื่น และกลัวการสัมผัส หรือรับประทานหมู เพราะเมื่อได้ยินว่าเป็นไข้หวัดใหญ่ สายพันธุ์หมู อาจทำให้กลัว ไม่กล้ากิน และไม่กล้าสัมผัสหมู
การแพร่เชื้อมีการแพร่ติดต่อเช่นเดียวกับโรคไข้หวัดใหญ่ในคน1.แพร่ไปยังผู้อื่นโดยการไอ หรือจามรดกัน (เชื้อจะอยู่ในเสมหะ น้ำมูก น้ำลาย )2. ติดจากมือและสิ่งของที่มีเชื้อปนเปื้อนอยู่ และเชื้อจะเข้าสู่ร่างกายทางจมูกและตา หากนำมือที่มีเชื้อไปสัมผัส
อาการ
โรคไข้หวัดหมู
-มีไข้สูง
-หายใจไม่สะดวก
-ปวดศีรษะ ปวดตา
-ปวดเมื่อยตามร่างกายรุนแรง
-อาการป่วยจะพัฒนารวดเร็วและจะมีอาการหายใจลำบากอย่างรุนแรงภายใน 5 วันสำหรับคำแนะนำในการป้องกันเบื้องต้น เหมือนการป้องกันไข้หวัดธรรมดา คือ
1.เมื่อเป็นหวัดเวลาจามจะต้องใช้ผ้าเช็ดหน้าปิด เพื่อป้องกันการติดต่อ
2.หมั่นล้างมือ
3.หากมีอาการรุนแรง ไข้ไม่ลดภายใน 2 วัน ควรรีบพบแพทย์ทันที โดยเฉพาะผู้ที่เดินทางกลับจากประเทศที่มีการแพร่ระบาด และที่ผ่านมาประเทศไทยยังไม่เคยมีรายงานการแพร่ระบาดของไข้หวัดใหญ่ สายพันธุ์หมู
ไวรัสไข้หวัดหมู” มฤตยูสายพันธุ์ล่าสุด!
ภายหลังข่าวที่มีรายงานการแพร่ระบาดของไข้หวัดใหญ่และปอดบวมในประเทศเม็กซิโก ตั้งแต่กลางเดือนมีนาคม 2552 และทวีความรุนแรงมากขึ้นในสัปดาห์ที่ผ่านมา จนมีผู้ป่วยรวม 854 ราย เสียชีวิตไปแล้ว 59 ราย ซึ่งจากการเก็บตัวอย่างผู้ป่วยรวม 50 ราย ส่งตรวจพบว่า 17 ราย เกิดจากเชื้อไข้หวัดใหญ่ชนิด เอ สายพันธุ์ เอช 1 เอ็น 1 (H1N1)
ที่ต้องตกตะลึง คือ เชื้อมฤตยูนี้เป็นไข้หวัดสายพันธุ์ของคน โดยมีสารพันธุกรรมของเชื้อไข้หวัดใหญ่ในหมูผสมอยู่ด้วยแน่นอนว่า รายงานชิ้นดังกล่าวได้สร้างความตื่นตระหนกให้แก่ประชาชนทั้งโลก วันนี้จึงควรมาทำความรู้จักกับเจ้าเชื้อ “ไข้หวัดใหญ่ชนิดเอ สายพันธุ์ H1N1” หรือ “เชื้อไวรัสไข้หวัดหมู” กัน
รู้จักหวัดหมูพันธุ์ใหม่
ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ให้รายละเอียดว่า ไข้หวัดใหญ่ที่พบในคนตามฤดูกาลส่วนมากจะเป็น สายพันธุ์ H1N1 และ H3N2 ซึ่งมีการกลายพันธุ์เปลี่ยนแปลงสายพันธุ์อย่างค่อยเป็นค่อยไป จึงทำให้ต้องมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงสายพันธุ์ วัคซีนที่ใช้ในการป้องกันทุกปี และต้องมีการฉีดวัคซีนประจำปีที่มีสายพันธุ์ใกล้เคียงกับเชื้อไวรัสที่จะมีการระบาด ก็จะสามารถป้องกันโรคได้ อย่างเชื้อไวรัสไข้หวัดนก ก็จัดเป็นไข้หวัดใหญ่ชนิด A ซึ่งระบาดอยู่ในสัตว์ปีก และสามารถติดเชื้อข้ามสายพันธุ์มายังมนุษย์ได้ แต่ไข้หวัดนกสายพันธุ์ H5N1 เป็นสายพันธุ์รุนแรงที่ทั่วโลกให้ความสำคัญ
สำหรับเชื้อไวรัสไข้หวัดหมูนั้น ก็เป็นไข้หวัดใหญ่ชนิด A เช่นกัน พบได้ทั้งในหมูเลี้ยง และหมูป่า ในปัจจุบันที่พบบ่อยรวมทั้งในประเทศไทย จะเป็นสายพันธุ์ H1N1, H1N2 และ H3N2 ซึ่งลักษณะสายพันธุ์ไม่คล้ายคลึงกับไข้หวัดใหญ่ ในมนุษย์ มีรายงานน้อยมากที่จะข้ามมายังมนุษย์
“ในส่วนการระบาดของเชื้อไวรัสไข้หวัดหมู ที่พบในประเทศเม็กซิโก และอเมริกานั้น เป็นสายพันธุ์ที่ไม่เคยพบมาก่อนในมนุษย์ เป็นสายพันธุ์ที่มีชิ้นส่วนของพันธุกรรมเกิดจากการผสมผสานของไข้หวัดหมู ที่เคยมีรายงานในอเมริกา หรือ ยุโรป และเอเชีย รวมทั้งชิ้นส่วนพันธุกรรมของไข้หวัดที่เคยรายงานไว้ในอเมริกาเหนือ จึงถือได้ว่าเป็น “ไวรัสสายพันธุ์ใหม่” และเมื่อดูองค์ประกอบเปรียบเทียบกับวัคซีน H1N1 ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน มีความคล้ายคลึงกันไม่ถึง 80% บ่งชี้ให้เห็นว่า การป้องกันด้วยวัคซีนที่ใช้ในปัจจุบันก็ไม่น่าจะได้ผล อย่างไรก็ตาม ไวรัสดังกล่าวยังคงตอบสนองต่อยาต้านไวรัส ได้แก่ Oseltamivir (Tamiflu) และ Zanamivir แต่สามารถดื้อต่อ ยา Amantadine ได้เช่นกัน”
การแพร่เชื้อ อาการ
กับคำถามที่ว่าการแพร่เชื้อนั้นเกิดขึ้นได้อย่างไร แล้วหากกินหมูจะติดโรคหรือไม่นั้น นพ.ปราชญ์ บุณยวงศ์วิโรจน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข บอกว่า เชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่นี้ มีการแพร่ติดต่อเช่นเดียวกับโรคไข้หวัดใหญ่ในคนโดยทั่วไป คือเชื้อนั้นจะอยู่ในเสมหะ น้ำมูก น้ำลายของผู้ป่วย แพร่ไปยังผู้อื่นโดยการไอ หรือจามรดกันในระยะใกล้ชิด หรือติดจากมือและสิ่งของที่มีเชื้อปนเปื้อนอยู่ และเชื้อจะเข้าสู่ร่างกายทางจมูกและตา เช่น การแคะจมูก การขยี้ตา
แต่สิ่งที่ทำให้เหล่าผู้บริโภคทั้งหลายหายกังวลได้เปลาะหนึ่ง คือ เชื้อนี้ไม่ติดต่อจากการรับประทานเนื้อหมู!!!
สำหรับอาการที่เกิดขึ้นนั้น ผู้ป่วยจะมีอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ คือ มีไข้สูง ปวดเมื่อยตามร่างกาย ไอ มีน้ำมูก นอกจากนี้ในบุคคลที่ร่างกายอ่อนแอ เป็นโรคเบาหวาน โรคหัวใจ หากติดเชื้อจะทำให้มีอาการที่รุนแรงขึ้นได้ ดังนั้น ผู้ที่มีอาการคล้ายจะเป็นหวัด มีไข้สูง ก็ไม่ควรนิ่งนอนใจ ควรพบแพทย์ทำการวินิจฉัย รักษา และควบคุมโรคต่อไป
“หากป่วยและมีอาการ ควรสวมหน้ากากอนามัย และหลีกเลี่ยงการไปในที่ชุมชน หรือสถานที่แออัด ประชาชนทั่วไปควรรักษาสุขภาพให้แข็งแรง โดยรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผัก ผลไม้ นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ งดสูบบุหรี่ งดดื่มเหล้า ล้างมือบ่อยๆ” นพ.ปราชญ์ เสริม
เตรียมพร้อมรับมือโรคพันธุ์ใหม่
ด้านการเตรียมการ ป้องกันเฝ้าระวังโรคนั้น ได้รับคำยืนยันจาก นายวิทยา แก้วภราดัย รมว.กระทรวงสาธารณสุข ไปแล้วว่า ในไทยยังไม่พบเชื้อไข้หวัดหมูสายพันธุ์ใหม่ที่กำลังระบาดอยู่ในประเทศเม็กซิโก แต่ทั้งนี้ก็ได้สั่งการให้สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค ติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด เพื่อเร่งรัดการเฝ้าระวังโรค รวมทั้งเตรียมความพร้อมรับมือ ทั้งด้านการตรวจวินิจฉัย การดูแลรักษาพยาบาลผู้ป่วย การเตรียมเครื่องมือและเวชภัณฑ์ ตลอดจนการเดินทางระหว่างประเทศ โดยประสานงานกับองค์การอนามัยโลกและศูนย์ป้องกันควบคุมโรคแห่งชาติ สหรัฐอเมริกา อย่างใกล้ชิดด้วย
นพ.ไพจิตร์ วราชิต รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข ในฐานะประธานศูนย์ปฎิบัติ การควบคุมโรคอุบัติใหม่กระทรวงสาธารณสุข กล่าวย้ำด้วยว่า ได้จัดเตรียมความพร้อมระบบเฝ้าระวังป้องกันของไทยขั้นสูงสุด เพื่อสร้างความมั่นใจแก่คนไทย จะไม่ป่วยจากโรคดังกล่าว ซึ่ง “ขณะนี้โรคนี้ยังไม่มีการระบาดสู่ไทย” แต่ถึงอย่างไรก็ต้องติดตามและประเมินสถานการณ์โรคนี้อย่างใกล้ชิด ทั้งการป้องกันเฝ้าระวัง ทุกจุดผ่านแดน และความพร้อมของสถานบริการเพื่อการรักษา
ด่านสกัดตั้งแต่ประตูสู่ประเทศ
นพ.มล.สมชาย จักรพันธุ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า จากการประชุมร่วมกับผู้แทนองค์การอนามัยโลก เมื่อคืนวันที่ 25 เม.ย.ที่ผ่านมา องค์การอนามัยโลก ยังไม่ได้ประกาศให้การระบาดของโรคดังกล่าวเป็นภาวะฉุกเฉินระดับ 4 ซึ่งหมายถึงการระบาดใหญ่ แต่ยังเป็นแค่ระดับ 3 คือ ให้เน้นเรื่องของการเฝ้าระวังและควบคุมการระบาดในแต่ละพื้นที่เท่านั้น
ในส่วนของประเทศไทยได้สั่งการให้ด่านควบคุมโรคระหว่างประเทศ เตรียมพร้อมในการติดตั้งเครื่องวัดอุณหภูมิ “เทอร์โมสแกนเนอร์” บริเวณท่าอากาศยานนานาชาติโดยเฉพาะที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ในจุดที่มีเครื่องบิน หรือผู้ที่เดินทางมาจากพื้นที่ที่มีการระบาดคือเม็กซิโก และบางส่วนของสหรัฐอเมริกา พร้อมแจกเอกสารคำเตือนด้านสาธารณสุข (Health Card) แก่ผู้ที่จะเดินทางเข้าและออกนอกประเทศ ในส่วนของคนไทยได้เตือนให้งดการเดินทางไปประเทศเม็กซิโกและบางรัฐของสหรัฐอเมริกา เช่น แคลิฟอร์เนีย เทกซัส ที่มีการระบาดของโรคในขณะนี้ รวมทั้งให้เปิดศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขขึ้นที่กรมควบคุมโรค และหากมีความจำเป็นอาจจะต้องเปิดศูนย์ปฏิบัติการในระดับกระทรวง เพื่อเป็นวอร์รูมในการติดตาสถานการณ์และเฝ้าระวังการระบาดของโรคอย่างใกล้ชิดต่อไป
กินหมูได้ไม่ติดโรค!!
ข่าวการระบาดของโรคนี้ อาจทำให้ประชาชนไทยเกิดความวิตก กลัวติดเชื้อ และไม่กล้ากินเนื้อหมู จึงขอให้ข้อมูลว่า โรคระบาดดังกล่าวไม่ใช่โรคที่ติดจากการรับประทานหมู แต่เป็นไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ที่มีสารพันธุกรรมของหมูและคนผสมกัน เป็นการกลายพันธุ์ของเชื้อในตัวคน ติดต่อจากคนสู่คนไม่ใช่จากหมูมาสู่คน ซึ่งทางองค์การอนามัยโลกให้คำแนะนำว่า ให้เฝ้าระวังผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่และปอดบวมอย่างใกล้ชิด”อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าว
ทั้งนี้ นพ.มล.สมชาย บอกย้ำความมั่นใจด้วยว่า กรมควบคุมโรคได้จัดเตรียมยาต้านไวรัสไข้หวัดใหญ่ที่สามารถรักษาโรคนี้ได้ ซึ่งมีเพียงพออยู่แล้ว ซึ่งถึงแม้ว่าจะมีรายงานผู้เสียชีวิตในประเทศเม็กซิโก แต่เชื้อนี้มียาต้านไวรัสที่รักษาได้ นอกจากนี้ ไทยยังมีระบบที่ใช้ตลอดปี คือ การเฝ้าระวังผู้ป่วยโรคไข้หวัดใหญ่ โรคปอดบวมเพื่อคัดกรองหาโรคไข้หวัดนก ซึ่งปกติไข้หวัดใหญ่ในคนจะพบเชื้อ H3N2 มากกว่า H1N1 อยู่แล้ว การเฝ้าระวังจึงสามารถเพิ่มเติมรองรับใช้กับโรคไข้หวัดใหญ่ชนิดนี้ได้
โรคไข้หวัดสุกร
โรคไข้หวัดสุกร ทำให้เกิดโรคระบบทางเดินหายใจชนิดเฉียบพลันในสุกรทุกช่วงอายุมีผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจต่ออุตสาหกรรมการเลี้ยงสุกร โดยสาเหตุจากการติดเชื้อไวรัสไข้หวัดสุกรคือไวรัสไข้หวัดใหญ่ไทป์ A ในตระกูล Orthomyxoviridae ซึ่งไวรัสชนิด RNA สายเดี่ยว มีเปลือกหุ้ม
มีสารพันธุกรรมเป็นท่อนสั้นๆ จำนวน 8 ท่อน ไวรัสไข้หวัดใหญ่ประกอบด้วย H1-16 และ N1-9 ในสุกรเฉพาะ H1N1,H3N2 และ H1N2 เนื่องจากสารพันธุกรรมเป็นชนิด RNA และมี 8 ท่อน จึงมีโอกาสเกิดการกลายพันธุ์ และการแลกเปลี่ยนสารพันธุกรรมระหว่างไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ที่มาจากมนุษย์ สัตว์ปีกรวมทั้งสุกรได้ง่าย สุกรทำหน้าที่เป็นถังผสม “mixing vessel” เนื่องจากสุกรมีตัวรับ (receptor) บนผิวเซลล์ที่เหมือนกับของคนและสัตว์ปีก ทำให้สุกรสามารถติดไวรัสไข้หวัดใหญ่ในคนหรือสัตว์ปีกได้ จึงทำให้มีโอกาสเกิดการแลกเปลี่ยนสารพันธุ์กรรมของเชื้อไวรัสไข้หวัดสุกรได้สูง การเปลี่ยนแปลงของเชื้อเพียงเล็กน้อย เรียกว่า “Antigenic drift” การเปลี่ยนแปลงของสารพันธุกรรมอย่างมากจนทำให้ได้ไวรัสชนิดH หรือ N subtype ใหม่ ที่เรียกว่า “Antigenic shift ” จะได้ไวรัสสายพันธุ์ใหม่ที่สุกรไม่เคยพบมาก่อนทำให้เกิดการระบาดของโรคกระจายเป็นวงกว้างและสุกรแสดงอาการป่วยที่รุนแรง (pandemic)นอกจากนั้นอาจทำให้เกิดการติดต่อไปยังคนและสัตว์อื่นๆ ได้ เชื้อไวรัสไข้หวัดสุกรที่พบส่วนใหญ่เป็นชนิด H1N1 และ H3N2 เริ่มมีรายงานการตรวจพบ H1N2 subtype ในประเทศต่างๆ เพิ่มมากขึ้นและมีแนวโน้มว่าจะพบการระบาดแทนสายพันธุ์ H1N1 และ H3N2
อาการ
สุกรที่ติดเชื้อจะแสดงอาการทางระบบหายใจแบบเฉียบพลัน มีไข้สูง ซึม เบื่ออาหาร ไอ จามมีน้ำมูก อัตราการป่วยอาจสูงถึง 100% แต่สุกรจะฟื้นและหายป่วยอย่างรวดเร็วภายใน 5-7 วัน มักไม่พบการตายถ้าไม่มีการติดเชื้อแทรกซ้อน มีผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจต่ออุตสาหกรรมการเลี้ยงสุกร
โดยเฉพาะในสุกรหลังหย่านม ทำให้สุกรสูญเสียน้ำหนักในช่วงที่แสดงอาการ ทำให้ระยะเวลาที่ใช้ในการขุนสุกรนานขึ้น ในสุกรตั้งท้องอาจทำให้เกิดการแท้งเนื่องจากมีไข้สูง เชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่เป็นเชื้อปฐมภูมิ ทำให้สุกรสามารถติดเชื้อแทรกซ้อนได้ง่าย และจัดเป็นหนึ่งในสาเหตุของโรคระบบ
ทางเดินหายใจซับซ้อนในสุกร (Porcine Respiratory Disease Complex,PRDC)
รอยโรค
พบการอักเสบและเนื้อตาย ตลอดช่องทางเดินหายใจ มีเลือดคั่งในปอดและช่องทางเดินหายใจพบการเกิดเนื้อตายเป็นหย่อมๆ และถุงลมปอดแฟบเป็นบางส่วน
การเก็บตัวอย่างส่งตรวจ
- การเก็บตัวอย่างป้ายจมูก
ดำเนินการในสุกรที่เพิ่งเริ่มแสดงอาการป่วย โดยมีไข้สูง นอนสุม มีน้ำมูกใส มีอาการทางระบบหายใจ ซึ่งดำเนินการดังนี้
1. สอดไม้ swab เข้าไปในโพรงจมูกให้ลึกที่สุดจนสามารถป้ายน้ำมูกใสออกมาได้ กรณีที่เป็น
ซากสุกรที่ตายใหม่ให้ป้ายไม้ swab ที่หลอดลมและปอด
2. ใส่ไม้ swab ลงในหลอดเก็บตัวอย่างโดยให้ส่วนที่เป็นสำลีจุ่มใน transport media
3. ใช้กรรไกรตัดปลายไม้ swab ให้พอดีและสามารถปิดฝาหลอดเก็บตัวอย่างได้
4. นำหลอดเก็บตัวอย่างใส่ถุงพลาสติกเพื่อป้องกันน้ำเข้า
5. แช่หลอดเก็บตัวอย่างในน้ำแข็งและระวังไม่ให้น้ำเข้า
6. ส่งตัวอย่างไปห้องปฏิบัติการภายใน 24 ชั่วโมง หากส่งไม่ได้ภายใน 24 ชั่วโมง ให้แช่แข็งและส่งห้องปฏิบัติการภายในระยะเวลา 7 วัน
- การเก็บตัวอย่างเลือด
ดำเนินการเมื่อมีการแนะนำให้เก็บตัวอย่างจากห้องปฏิบัติการ
การรักษา ป้องกัน และควบคุม
การป้องกันโรค
1. สังเกตอาการป่วยของสุกรในฝูงอย่างสม่ำเสมอโดยอาการของสุกรที่ป่วยด้วยโรค Swine Influenza จะแสดงอาการมีไข้ ซึม น้ำหนักลด หายใจลำบาก ไอจาม น้ำมูกไหล หากพบอาการดังกล่าวให้แจ้งเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์ทราบภายใน 24 ชั่วโมง
2. หลีกเลี่ยงการเลี้ยงสัตว์ปีกในบริเวณเดียวกับที่เลี้ยงสุกร เพื่อลดโอกาสที่จะเกิดการรวมพันธุกรรมระหว่างเชื้อไวรัส Avian Influenza และ Swine Influenza
3. ห้ามผู้ป่วยที่มีอาการทางเดินหายใจเข้าในคอกเลี้ยงสุกร
4. ให้มีการสุขาภิบาลการเลี้ยงสุกรที่ดี เช่น คอกสะอาด ไม่ชื้นแฉะ มีอากาศถ่ายเทได้สะดวกไม่อยู่ในที่หนาว เย็น ร้อน หรือถูกฝนมากเกินไปและเสริมวิตามินในอาหาร ตลอดจนเข้มงวดตรวจสอบให้นำสุกรที่ปลอดโรคเข้าเลี้ยงในฟาร์ม และเข้มงวดการเข้าออกจากฟาร์มโดยใช้น้ำยาฆ่าเชื้อ
อย่างสม่ำเสมอ ของบุคคลและยานพาหนะ
การควบคุมโรค
1. สุกรที่แสดงอาการป่วยให้รักษาตามอาการ เช่น ฉีดยาปฎิชีวนะหรืออาจต้องให้สารน้ำหากจำเป็น ส่วนสุกรที่เลี้ยงร่วมฝูงให้ยาปฏิชีวนะโดยผสมยาให้สุกรกินเพื่อลดการแทรกซ้อนของเชื้อแบคทีเรียตามคำแนะนำของสัตวแพทย์
2. ใช้ยาฆ่าเชื้อทำความสะอาดคอก โดยหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดการฟุ้งกระจายโดยเชื้อไวรัสinfluenza ถูกทำลายได้ง่ายด้วยความร้อน (เช่นที่อุณหภูมิ 56oC นาน 3 ชั่วโมง ที่อุณหภูมิ 60oC นาน 30นาที) และสารเคมีต่างๆ เช่น สารที่มีคุณสมบัติในการละลายไขมัน (lipid solvents), formalin, betapropiolactone,
oxidizing agents, sodium dodecylsulfate, hydroxylamine, ammonium ions และ iodine
compounds
-----------------------------------------------__
ความรู้เรื่อง โรคไข้หวัดสุกรสำหรับเกษตร
โรคไข้หวัดสุกร ทำให้เกิดโรคระบบทางเดินหายใจชนิดเฉียบพลันในสุกรทุกช่วงอายุมีผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจต่ออุตสาหกรรมการเลี้ยงสุกร โดยสาเหตุจากการติดเชื้อไวรัสไข้หวัดสุกร
คือไวรัสไข้หวัดใหญ่ชนิดเอ (Type A) ตระกูลเดียวกันกับเชื้อไวรัสไข้หวัดนก
อาการ
สุกรที่ติดเชื้อจะแสดงอาการทางระบบหายใจแบบเฉียบพลัน มีไข้สูง ซึม เบื่ออาหาร ไอ จาม มีน้ำมูก อัตราการป่วยอาจสูงถึง 100% แต่สุกรจะฟื้นและหายป่วยอย่างรวดเร็วภายใน 5-7 วัน มักไม่พบการตายถ้าไม่มีการติดเชื้อแทรกซ้อน มีผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจต่ออุตสาหกรรมการเลี้ยงสุกร
โดยเฉพาะในสุกรหลังหย่านม ทำให้สุกรสูญเสียน้ำหนักในช่วงที่แสดงอาการ ทำให้ระยะเวลาที่ใช้ในการขุนสุกรนานขึ้น ในสุกรตั้งท้องอาจทำให้เกิดการแท้งเนื่องจากมีไข้สูง เชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่เป็นเชื้อปฐมภูมิ ทำให้สุกรสามารถติดเชื้อแทรกซ้อนได้ง่าย และจัดเป็นหนึ่งในสาเหตุของโรคระบบทางเดินหายใจซับซ้อนในสุกร (Porcine Respiratory Disease Complex,PRDC)
การรักษา ป้องกัน และควบคุม
1. ให้มีการสุขาภิบาลการเลี้ยงสุกรที่ดี
1.1 ทำคอกให้สะอาด ไม่ชื้นแฉะ มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก สุกรไม่อยู่ในที่หนาว เย็นร้อน หรือถูกฝนมากเกินไป
1.2 ให้อาหารที่มีคุณภาพ ถูกสัดส่วน และสะอาด รวมทั้งเสริมวิตามินในอาหารสุกร เพื่อเพิ่มความสมบูรณ์และลดความเครียดของสัตว์
1.3 เข้มงวดตรวจสอบให้นำสุกรที่ปลอดโรคเข้าเลี้ยงในฟาร์ม
1.4 เข้มงวดการเข้าออกฟาร์มของบุคคลและยานพาหนะ โดยใช้น้ำฆ่าเชื้ออย่างสม่ำเสมอ
1.5 เกษตรกรควรปรับระบบการเลี้ยงให้เข้าสู่ระบบฟาร์มมาตรฐาน ซึ่งจะช่วยป้องกันการเกิดโรคระบาดและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสุกรที่มี คุณภาพตามความต้องการของตลาด ปลอดภัยต่อสุขภาพของผู้เลี้ยงสุกรและผู้บริโภค โดยเกษตรกรติดต่อ
รายละเอียดการจัดทำมาตรฐานฟาร์มได้ที่ปศุสัตว์อำเภอในพื้นที่หรือปศุสัตว์จังหวัด
2. สังเกตอาการป่วยของสุกรในฝูงอย่างสม่ำเสมอโดยอาการของสุกรที่ป่วยด้วยโรคไข้หวัดสุกรจะแสดงอาการมีไข้ ซึม เบื่ออาหาร ไอจาม น้ำมูกไหล หากพบอาการดังกล่าวให้แจ้งเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์ทราบภายใน 24 ชั่วโมง
3. หลีกเลี่ยงการเลี้ยงสัตว์ปีกในบริเวณเดียวกับที่เลี้ยงสุกร เพื่อลดโอกาสที่จะเกิดการรวมพันธุกรรมระหว่างเชื้อไวรัส ไข้หวัดนก และ ไข้หวัดสุกร
4. ห้ามผู้ป่วยที่มีอาการทางเดินหายใจ เช่น เป็นหวัด ไอจาม เข้าในคอกเลี้ยงสุกร
การควบคุมโรค
1. สุกรที่แสดงอาการป่วยให้รักษาตามอาการเช่นฉีดยาปฎิชีวนะหรืออาจต้องให้สารน้ำหากจำเป็น ส่วนสุกรที่เลี้ยงร่วมฝูงให้ยาปฎิชีวนะโดยผสมยาให้สุกรกิน เพื่อลดการแทรกซ้อนของเชื้อแบคทีเรียตามคำแนะนำของสัตวแพทย์
2. ใช้ยาฆ่าเชื้อทำความสะอาดคอก เช่น กลุ่มกลูตารอลดีไฮด์ กลุ่มแอมโมเนียมคลอไรด์กลุ่มไอโอดีน เป็นต้น โดยหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดการฟุ้งกระจาย ซึ่งเชื้อไวรัสตัวนี้นอกจากจะถูกทำลายได้ง่ายด้วยยาฆ่าเชื้อโรคแล้ว ยังสามารถทำลายด้วยความร้อนที่อุณหภูมิ 56 องศาเซลเซียส นาน 3 ชั่วโมง หรือ 60 องศาเซลเซียส นาน 30 นาที
3. งดการเคลื่อนย้ายสุกรหรือสับเปลี่ยนคอกในช่วงที่พบการเกิดโรค เนื่องจากอาจทำให้โรคแพร่กระจายได้ง่าย__

คำแนะนำสำหรับเกษตรกรในการป้องกันและควบคุมโรคไข้หวัดในสุกร
การป้องกันโรค
๑.ให้มีการสุขาภิบาลการเลี้ยงสุกรที่ดี
๑.๑ ทำคอกให้สะอาด ไม่ชื้นแฉะ มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก สุกรไม่อยู่ในที่หนาวเย็น ร้อนหรือถูกฝนมากเกินไป
๑.๒ ให้อาหารที่มีคุณภาพ ถูกสัดส่วน และสะอาด รวมทั้งเสริมวิตามินในอาหารสุกรเพื่อเพิ่มความสมบูรณ์และลดความเครียดของสัตว์
๑.๓ เข้มงวดตรวจสอบให้นำสุกรที่ปลอดโรคเข้าเลี้ยงในฟาร์ม
๑.๔ เข้มงวดการเข้าออกฟาร์มของบุคคลและยานพาหนะ โดยใช้น้ำฆ่าเชื้ออย่างสม่ำเสมอ
๑.๕ เกษตรกรควรปรับระบบการเลี้ยงให้เข้าสู่ระบบฟาร์มมาตรฐาน ซึ่งจะช่วยป้องกันการเกิดโรคระบาดและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสุกรที่มีคุณภาพตามความต้องการของตลาด ปลอดภัยต่อสุขภาพของผู้เลี้ยงสุกรและผู้บริโภค โดยเกษตรกรติดต่อรายละเอียดการจัดทำมาตรฐานฟาร์มได้ที่ปศุสัตว์อำเภอในพื้นที่หรือปศุสัตว์จังหวัด
๒. สังเกตอาการป่วยของสุกรในฝูงอย่างสม่ำเสมอโดยอาการของสุกรที่ป่วยด้วยโรคไข้หวัดสุกรจะแสดงอาการมีไข้ ซึม เบื่ออาหาร ไอจาม น้ำมูกไหล หากพบอาการดังกล่าวให้แจ้งเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์ทราบภายใน ๒๔ ชั่วโมง
๓. หลีกเลี่ยงการเลี้ยงสัตว์ปีกในบริเวณเดียวกับที่เลี้ยงสุกร เพื่อลดโอกาสที่จะเกิดการรวมพันธุกรรมระหว่างเชื้อไวรัส ไข้หวัดนก และ ไข้หวัดสุกร
๔. ห้ามผู้ป่วยที่มีอาการทางเดินหายใจ เช่น เป็นหวัด ไอจาม เข้าในคอกเลี้ยงสุกร หากผู้เลี้ยงสุกรหรือผู้ที่สัมผัสสุกรมีอาการป่วยในระบบทางเดินหายใจ ให้รีบไปพบแพทย์ทันที
การควบคุมโรค
๑.สุกรที่แสดงอาการป่วยให้รักษาตามอาการเช่นฉีดยาปฎิชีวนะหรืออาจต้องให้สารน้ำหากจำเป็นส่วนสุกรที่เลี้ยงร่วมฝูงให้ยาปฎิชีวนะโดยผสมยาให้สุกรกิน เพื่อลดการแทรกซ้อนของเชื้อแบคทีเรียตามคำแนะนำของสัตวแพทย์
๒.ใช้ยาฆ่าเชื้อทำความสะอาดคอก เช่นกลุ่มกลูตารอลดีไฮด์ กลุ่มแอมโมเนียมคลอไรด์กลุ่มไอโอดีน โดยหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดการฟุ้งกระจาย ซึ่งเชื้อไวรัสตัวนี้นอกจากจะถูกทำลายได้ง่ายด้วยยาฆ่าเชื้อโรคแล้ว ยังสามารถทำลายด้วยความร้อนที่อุณหภูมิ ๕๖ องศาเซลเซียส
นาน ๓ ชั่วโมง หรือ ๖๐ องศาเซลเซียส นาน ๓๐ นาที
๓. งดการเคลื่อนย้ายสุกรหรือสับเปลี่ยนคอกในช่วงที่พบการเกิดโรค เนื่องจากอาจทำให้โรคแพร่กระจายได้ง่าย


กรอบหลักการ : โครงการติดตาม เฝ้าระวังโรคไข้หวัดสุกรในประเทศไทย
วัตถุประสงค์
เพื่อเฝ้าระวังและประเมินสถานการณ์โรคไข้หวัดสุกร
เป้าหมาย
สุ่มตรวจตัวอย่างจากสุกร จำนวน ๒๓,๕๘๐ ตัวอย่าง
ระยะเวลาดำเนินการ
ระหว่างวันที่ ๔ – ๒๙ พฤษภาคม ๒๕๕๒
วิธีดำเนินการ
๑.การเฝ้าระวังเชิงรุก (Active surveillance)
๑.๑ การเฝ้าระวังทางอาการ
๑.๑.๑ ให้เครือข่ายเฝ้าระวังโรคในพื้นที่ เช่น อาสาพัฒนาปศุสัตว์ ดำเนินการเฝ้าระวังโรคโดยสอบถามลักษณะอาการสุกรป่วยหรือตายจากเจ้าของในระยะ ๒๑ วัน ที่ผ่านมา
๑.๑.๒ เมื่อทราบหรือพบสุกรป่วยโดยมีลักษณะน่าสงสัยโรคไข้หวัดสุกร ให้เจ้าหน้าที่สัตวแพทย์ ตรวจสอบ และเก็บตัวอย่างสิ่งคัดหลั่งจากโพรงจมูก (nasal swab) ส่งห้องปฏิบัติการ
๑.๒ การเฝ้าระวังทางห้องปฏิบัติการ
๑.๒.๑ การเฝ้าระวังในฟาร์มหรือแหล่งเลี้ยงสุกร
เป้าหมาย
๑) สุกรที่เลี้ยงในระบบฟาร์ม เป้าหมายจำนวน ๖๐ ฟาร์ม (๒๕ ตัวอย่างต่อฟาร์ม)รวมทั้งสิ้น ๑,๕๐๐ ตัวอย่าง
๒) สุกรของเกษตรกรรายย่อยที่ไม่ได้เลี้ยงเป็นระบบฟาร์ม จำนวน ๖๐ หมู่บ้าน( ๒๕ ตัวอย่างต่อหมู่บ้าน) รวมทั้งสิ้น ๑,๕๐๐ ตัวอย่าง
๑.๒.๒ การเฝ้าระวังในโรงฆ่า
ให้เก็บตัวอย่างสารคัดหลั่งในหลอดลมสุกรจากโรงฆ่าสัตว์ จำนวน ๖๘๖ โรง( ๓๐ตัวอย่างต่อโรง) รวมทั้งสิ้น ๒๐,๕๘๐ ตัวอย่าง
๒. การเฝ้าระวังเชิงรับ (passive surveillance)
เป็นการตรวจวินิจฉัยโรคทางห้องปฏิบัติการตามปกติ จากตัวอย่างสัตว์ป่วยของเกษตรกร
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
๑. ทราบสถานการณ์ของโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ที่ระบาดในสุกรในประเทศไทย
๒.นำมาวางแผนในการกำหนดมาตรการควบคุม ป้องกัน เพื่อลดความเสียหายให้แก่เกษตรกร
ภาคผนวก
หลักการดำเนินการ
๑) สุกรที่เลี้ยงในระบบฟาร์ม
๑.๑) สุ่มโดยวิธี two-stage cluster sampling โดยจำแนกออกเป็นฟาร์มขนาดเล็ก(สุกร 50 – 499 ตัว) ขนาดกลาง (สุกร 500 – 4,999 ตัว) และขนาดใหญ่ (สุกรมากกว่า 5,000 ตัว)
๑.๒) หน่วยตัวอย่างปฐมภูมิ (primary sampling unit) คือฟาร์มสุกร และหน่วยตัวอย่างทุติยภูมิ (secondary sampling unit) คือสุกรภายในฟาร์ม
๑.๓) ตัวแทนของฟาร์มสุกรแต่ละขนาด จะถูกสุ่มโดยวิธี simple random samplingและภายในฟาร์มที่ถูกสุ่ม จะสุ่มเลือกจำนวนประชากรสุกรที่เป็นตัวแทนของฝูง
๑.๔) ดำเนินการสุ่มเก็บตัวอย่างสิ่งคัดหลั่งจากโพรงจมูก เพื่อส่งตรวจวินิจฉัยยังห้องปฏิบัติการที่รับผิดชอบต่อไป
๒) สุกรของเกษตรกรรายย่อยที่ไม่ได้เลี้ยงเป็นระบบฟาร์ม
๒.๑) สุ่มโดยวิธี two-stage cluster sampling โดยหน่วยตัวอย่างปฐมภูมิ (primary sampling unit) คือหมู่บ้าน และหน่วยตัวอย่างทุติยภูมิ (secondary sampling unit) คือสุกรภายในหมู่บ้าน
๒.๒) หมู่บ้านที่มีการเลี้ยงสุกรจะถูกสุ่มโดยให้หมู่บ้านที่มีจำนวนสุกรมาก มีโอกาสจะถูกเลือกมากกว่าหมู่บ้านที่มีจำนวนสุกรน้อย (proportional-to-size sampling) และภายในหมู่บ้านที่ถูกสุ่ม จะสุ่มเลือกจำนวนประชากรสุกรที่เป็นตัวแทนของฝูง
๒.๓) ดำเนินการสุ่มเก็บตัวอย่างสิ่งคัดหลั่งจากโพรงจมูก เพื่อส่งตรวจวินิจฉัยยังห้องปฏิบัติการที่รับผิดชอบต่อไป__




ประเด็นถามตอบ
โรคไข้หวัดสุกร
􀂃 โรคไข้หวัดสุกรคืออะไร
ตอบ โรคไข้หวัดสุกร คือโรคในระบบทางเดินหายใจที่เกิดในสุกร เกิดจากเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ type Aตระกูล Orthomyxoviridae เนื่องจากสารพันธุกรรมเป็นชนิด RNA และมี 8 ท่อน จึงมีโอกาสเกิดการกลายพันธุ์ และการแลกเปลี่ยนสารพันธุกรรมระหว่างไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ที่มาจากมนุษย์ สัตว์ปีกรวมทั้งสุกรได้ง่าย สุกรทำหน้าที่เป็นถังผสม “mixing vessel”เนื่องจากสุกรมีตัวรับ (receptor) บนผิวเซลล์ที่เหมือนกับของคนและสัตว์ปีก ทำให้สุกรสามารถติดไวรัสไข้หวัดใหญ่ในคนหรือ สัตว์ปีกได้ จึงทำให้มีโอกาสเกิดการแลกเปลี่ยนสารพันธุกรรมของเชื้อไวรัสไข้หวัดสุกรได้สูง
เชื้อไวรัสไข้หวัดสุกรที่พบส่วนใหญ่เป็นชนิด H1N1 และ H3N2 เริ่มมีรายงานการตรวจพบ H1N2subtype ในประเทศต่างๆ เพิ่มมากขึ้น และมีแนวโน้มว่าจะพบการระบาดแทนสายพันธุ์ H1N1 และH3N2
􀂃 สุกรที่ติดเชื้อจะแสดงอาการอย่างไร
ตอบ สุกรที่ติดเชื้อจะแสดงอาการทางระบบหายใจแบบเฉียบพลัน มีไข้สูง ซึม เบื่ออาหาร ไอ จาม มีน้ำมูก อัตราการป่วยอาจสูงถึง 100% แต่สุกรจะฟื้นและหายป่วยอย่างรวดเร็วภายใน 5-7 วัน มักไม่พบการตาย ถ้าไม่มีการติดเชื้อแทรกซ้อน มีผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจต่ออุตสาหกรรมการเลี้ยงสุกรโดยเฉพาะในสุกรหลังหย่านม ทำให้สุกรสูญเสียน้ำหนักในช่วงที่แสดงอาการ ทำให้ระยะเวลาที่ใช้ในการขุนสุกรนานขึ้น ในสุกรตั้งท้องอาจทำให้เกิดการแท้งเนื่องจากมีไข้สูง เชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่เป็นเชื้อปฐมภูมิ ทำให้สุกรสามารถติดเชื้อแทรกซ้อนได้ง่าย และจัดเป็นหนึ่งในสาเหตุของโรคระบบทางเดินหายใจซับซ้อนในสุกร (Porcine Respiratory Disease Complex,PRDC)
􀂃 คนสามารถติดเชื้อไข้หวัดสุกรได้หรือไม่?
ตอบ โดยปกติแล้วโรคไข้หวัดสุกรจะไม่ติดไปยังคน แต่อาจพบได้บ้างแต่น้อยมากในคนที่อยู่ใกล้ชิดกับสุกร การติดต่อของโรคจากคนสู่คนของโรคไข้หวัดสุกรเกิดจากการแพร่เช่นเดียวกับที่มีการแพร่ของไข้หวัดตามฤดูกาลคือแพร่ผ่านการไอและจาม อาการของโรคไข้หวัดสุกรในคนนั้น คล้ายกับโรคไข้หวัดตามฤดูกาล
􀂃 วิธีการแพร่ระบาดของโรค
ตอบ ในสุกร โรคนี้สามารถติดต่อทั้งทางตรงและทางอ้อมระหว่างสุกรด้วยกัน โดยเชื้อไวรัสจะปะปนในอากาศเมื่อสุกรไอหรือจาม หรือจากการกินอาหารและน้ำร่วมกัน หลังจากการติดโรคสุกรทุกตัวในฝูงจะป่วยภายใน 2-3 วันต่อมา และเชื้อไวรัสจะถูกขับออกมาจากสุกรแม้จะหายป่วยจากโรคนี้แล้วนานถึง3 เดือน
􀂃 มีการเฝ้าระวังโรคที่เกิดขึ้นในสุกรอย่างไร
ตอบ 1. สังเกตอาการป่วยของสุกรในฝูงอย่างสม่ำเสมอโดยอาการของสุกรที่ป่วยด้วย โรค SwineInfluenza จะแสดงอาการมีไข้ ซึม น้ำหนักลด หายใจลำบาก ไอจาม น้ำมูกไหล หากพบอาการดังกล่าวให้แจ้งเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์ทราบภายใน 24 ชั่วโมง
2. เมื่อเจ้าหน้าที่กรมปศุสัตว์ได้รับรายงานการแจ้งสุกรป่วยจากเกษตรกร จะเข้าตรวจสอบและดำเนินการเก็บตัวอย่างเลือดและตัวอย่างจากการป้ายจมูกส่งห้องปฏิบัติการ วิธีการตามสิ่งที่ส่งมาด้วยและแนะนำให้เกษตรกรปฏิบัติดังนี้
- ห้ามเคลื่อนย้ายสุกรหรือสับเปลี่ยนคอกในช่วงที่พบการเกิดโรค
- สุกรที่แสดงอาการป่วยให้รักษาตามอาการ เช่น ฉีดยาปฎิชีวนะหรืออาจต้องให้สารน้ำหากจำเป็น ส่วนสุกรที่เลี้ยงร่วมฝูงให้ยาต้านจุลชีพโดยผสมยาให้สุกรกินเพื่อลดการแทรกซ้อนของเชื้อแบคทีเรียตามคำแนะนำของสัตวแพทย์
- ใช้ยาฆ่าเชื้อทำความสะอาดคอก โดยหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดการฟุ้งกระจาย
􀂃 การป้องกันโรคและการควบคุมโรคทำอย่างไร
ตอบ
การป้องกันโรค
1. สังเกตอาการป่วยของสุกรในฝูงอย่างสม่ำเสมอโดยอาการของสุกรที่ป่วยด้วยโรค Swine Influnza จะแสดงอาการมีไข้ ซึม น้ำหนักลด หายใจลำบาก ไอจาม น้ำมูกไหล หากพบอาการดังกล่าวให้แจ้งเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์ทราบภายใน 24 ชั่วโมง
2. หลีกเลี่ยงการเลี้ยงสัตว์ปีกในบริเวณเดียวกับที่เลี้ยงสุกร เพื่อลดโอกาสที่จะเกิดการรวมพันธุกรรมระหว่างเชื้อไวรัส Avian Influenza และ Swine Influenza
3. ห้ามผู้ป่วยที่มีอาการทางเดินหายใจเข้าในคอกเลี้ยงสุกร
4. ให้มีการสุขาภิบาลการเลี้ยงสุกรที่ดี เช่น คอกสะอาด ไม่ชื้นแฉะ มีอากาศ ถ่ายเทได้สะดวกไม่อยู่ในที่หนาว เย็น ร้อน หรือถูกฝนมากเกินไปและเสริมวิตามินในอาหาร ตลอดจนเข้มงวดตรวจสอบให้นำสุกรที่ปลอดโรคเข้าเลี้ยงในฟาร์ม และเข้มงวดการเข้าออกจากฟาร์มของบุคคลและยานพาหนะ
การควบคุมโรค
1. ห้ามเคลื่อนย้ายสุกรหรือสับเปลี่ยนคอกในช่วงที่พบการเกิดโรค
2. สุกรที่แสดงอาการป่วยให้รักษาตามอาการ เช่น ฉีดยาปฎิชีวนะหรืออาจต้องให้สารน้ำหากจำเป็นส่วนสุกรที่เลี้ยงร่วมฝูงให้ยาต้านจุลชีพโดยผสมยาให้สุกรกินเพื่อลดการแทรกซ้อนของเชื้อแบคทีเรียตามคำแนะนำของสัตวแพทย์
3. ใช้ยาฆ่าเชื้อทำความสะอาดคอก โดยหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดการฟุ้งกระจายโดยเชื้อไวรัส influenza ถูกทำลายได้ง่ายด้วยความร้อน (เช่นที่อุณหภูมิ 56oC นาน 3 ชั่วโมง ที่อุณหภูมิ 60oC นาน 30 นาที) และสารเคมีต่างๆ เช่น สารที่มีคุณสมบัติในการละลายไขมัน (lipid solvents), formalin, betapropiolactone,oxidizing agents, sodium dodecylsulfate, hydroxylamine, ammonium ions และiodine compounds
􀂃 โรคไข้หวัดสุกรนี้พบได้บ่อยครั้งหรือไม่?
ตอบ เป็นโรคที่สามารถพบได้ในสุกร ทั้งนี้จะพบมากในช่วงฤดูหนาว หรือในสุกรที่เพิ่งนำมาเข้าเลี้ยงในประเทศสหรัฐอเมริกามีการเจาะเลือดเพื่อศึกษาถึงความชุกของโรคไข้หวัดสุกร พบว่า มีสุกรที่แสดงantibody evidence ต่อ H1N1 infection อย่างไรก็ตาม คนที่ป่วยด้วยโรคไข้หวัดใหญ่ H1N1 นั้น
สามารถเกิดขึ้นได้ แต่ค่อนข้างยาก
􀂃 โรคไข้หวัดสุกรสามารถเกิดจากการจัดการฟาร์มที่ไม่ได้มาตรฐาน หรือโรงฆ่าสัตว์ที่ไม่สะอาดได้หรือไม่
ตอบ มีโอกาสเกิดขึ้นได้ รวมทั้งสามารถเกิดโรคอื่นๆได้อีกหลายโรค เนื่องจากการจัดการฟาร์มและการสุขาภิบาลที่ไม่ได้มาตรฐาน เช่น คอกชื้นแฉะ ไม่สะอาด อากาศถ่ายเทไม่สะดวก หรือการเลี้ยงรวมกับสัตว์ชนิดอื่นๆ เช่น สัตว์ปีก ซึ่งจะทำให้ฟาร์มนั้นกลายเป็นแหล่งของเชื้อโรค รวมทั้งสัตว์จะเกิด
ความเครียด ทำให้สัตว์อ่อนแอ และป่วยได้ง่าย
􀂃 ประเทศที่มีการประกาศห้ามการนำเข้าสินค้าปศุสัตว์ประเภทเนื้อสุกร และผลิตภัณฑ์จากเนื้อสุกรจากประเทศสหรัฐอเมริกา และประเทศเม็กซิโก ได้แก่ประเทศอะไรบ้าง
ตอบ ประเทศอินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ รัสเซีย และจีน นอกจากนี้ประเทศที่ประกาศเฝ้าระวังการนำเข้าสินค้าดังกล่าวอย่างเข้มงวด คือ ประเทศเกาหลี
􀂃 การกินเนื้อสุกรจะปลอดภัยหรือไม่?
ตอบ ยังไม่มีหลักฐานว่าโรคไข้หวัดสุกรจะสามารถแพร่ผ่านการกินเนื้อสุกรที่ติดเชื้อ แต่อย่างไรก็ตามการบริโภคเนื้อสุกรที่ปรุงสุกที่อุณหภูมิ 70 องศาเซลเซียส (158 องศาฟาเรนไฮน์) ซึ่งจะสามารถแน่ใจว่าฆ่าเชื้อไวรัสได้
􀂃 ควรจะกังวลเกี่ยวกับการระบาดนี้หรือไม่?
ตอบ เมื่อพบการระบาดของเชื้อไวรัสตัวใหม่ที่สามารถติดต่อได้ระหว่างคนสู่คน ดังนั้น จึงต้องมีการเฝ้าติดตามผู้ป่วยอย่างใกล้ชิดเพื่อป้องกันการระบาดใหญ่ องค์การอนามัยโรคได้เตือนว่าการที่พบผู้ป่วยทั้งในประเทศเม็กซิโกและอเมริกาอาจจะเป็นจุดที่ทำให้มีการแพร่ระบาดไปทั่วโลก และเห็นว่าสถานการณ์เช่นนี้น่าเป็นห่วง และถือว่าระดับของการระบาดในปัจจุบันนี้อยู่ในระดับ 3 (จากทั้งหมด6 ระดับ) คือมีการระบาดเป็นบางจุด ซึ่งจากอดีตที่ผ่านมาพบว่าการระบาดของเชื้อ H1N1 หรือSpanish flu ได้เคยมี การระบาดไปทั่วโลกในปี 1918 โดยพบว่าประชากรในโลกถึง 40 เปอร์เซ็นต์ที่
ติดเชื้อ และมีคนตายมากกว่า 50 ล้านคน โดยเฉพาะในเด็กอย่างไรก็ตามในการระบาดที่ผ่านมาในครั้งนี้ ผู้ป่วยทั้งหมดในอเมริกา มีอาการไม่รุนแรง ซึ่งเป็นตัวบ่งบอกได้ว่าความรุนแรงที่เกิดขึ้นในเม็กซิโก อาจเนื่องจากปัจจัยที่เฉพาะของพื้นที่และไม่น่าจะทำให้
เกิด การระบาดไปยังส่วนอื่นๆ ของโลก
โรคไข้หวัดใหญ่ในคน
􀂃 โรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ H1N1 คือ ?
ตอบ เป็นโรคที่เกิดในระบบทางเดินหายใจของสุกร โดยเกิดจากเชื้อไวรัส type A influenza ทั้งนี้พบว่าโรคดังกล่าวจะไม่ติดต่อมาสู่คน ยกเว้นมีการสัมผัสกับสุกรอย่างใกล้ชิด แต่มีการรายงานพบการติดต่อระหว่างคนสู่คนเช่นกันตั้งแต่ในช่วงเดือนธันวาคม 2005 ถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2009 พบว่ามีผู้ป่วยที่ป่วยด้วยโรคไข้หวัดใหญ่(H1N1)รวมทั้งสิ้น 12 ราย โดยเป็นผู้ป่วยที่มาจาก 10 มลรัฐของประเทศสหรัฐอเมริกาสถานการณ์จนถึงเดือนมีนาคม 2009 มีการยืนยันว่าพบผู้ป่วยที่ป่วยด้วยโรคไข้หวัดใหญ่ สายพันธุ์เม็กซิโก (H1N1) ที่มลรัฐ California, Texas และ Kansas ซึ่งเป็นมลรัฐที่ติดกับชายแดนประเทศเม็กซิโกทำให้ต้องเร่งการสอบสวนหาต้นตอของการเกิดการระบาดของโรคต่อไป เนื่องจากพบผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้น
􀂃 วิธีการแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่ (H1N1)?
ตอบ โรคไข้หวัดใหญ่(H1N1)สามารถแพร่ระบาดได้ 2 วิธี คือ
• จากการสัมผัสกับสุกรป่วย หรือสัมผัสกับเชื้อไวรัสโรคไข้หวัดใหญ่(H1N1)ที่มีการปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อม
• จากการสัมผัสระหว่างผู้ป่วยด้วยกัน เช่น การไอ จาม เหมือนโรคไข้หวัดทั่วไป

􀂃 วิธีการป้องกันตนเองจากโรคไข้หวัดใหญ่ ?
ตอบ ขณะนี้ไม่มีวัคซีนที่สามารถป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ สายพันธุ์ที่ระบาดในเม็กซิโกได้ เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงทางรหัสพันธุกรรมของตัวไวรัส ทำให้ประชากรไม่มีภูมิต่อไวรัสชนิดดังกล่าว
วิธีการป้องกันไม่ให้ติดเชื้อ
- สวมใส่หน้ากากป้องกันการติดเชื้อจากการหายใจ
- ล้างมือให้สะอาดทุกครั้ง การใช้แอลกอฮอล์เช็ดมือจะช่วยลดการปนเปื้อนกับเชื้อโรคได้
- หลีกเลี่ยงการสัมผัสหรือใกล้ชิดกับผู้ป่วยที่มีอาการหวัด
- หากพบว่าป่วยด้วยโรคไข้หวัดใหญ่ หรือมีอาการคล้ายคลึง ควรพบแพทย์เพื่อทำการรักษาควรรีบปรึกษาแพทย์
􀂃 สามารถป่วยเป็นโรคไข้หวัดใหญ่(H1N1)จากการกินเนื้อสุกรได้หรือไม่ ?
ตอบ ไม่ เพราะสุกรที่ปรุงสุกได้ผ่านความร้อนแล้วทำให้สามารถฆ่าเชื้อได้
􀂃 วิธีการวินิจฉัยโรคไข้หวัดใหญ่
ตอบ วิธีการวินิจฉัย swine influenza A infection ต้องมีการเก็บตัวอย่าง respiratory specimenหลังจากที่พบอาการป่วย 4 - 5 วัน คือในระยะที่มีการ shed เชื้อ อย่างไรก็ตามถ้าเป็นในเด็กและคนชราสามาถอยู่ในระยะ shed เชื้อได้ถึง 10 วัน
แนวทางการให้ข่าวของเจ้าหน้าที่
๑.อธิบายที่มาของการเกิดโรคระบาด ดังนี้
ตามที่มีรายงานข่าวการเกิดโรคไข้หวัดใหญ่ในคน ที่ประเทศเม็กซิโกและสหรัฐอเมริกา โดยพบผู้ป่วยที่เข้าข่ายสงสัยว่าติดเชื้อ
ไข้หวัดใหญ่ในทั้ง ๒ ประเทศ โดยจำนวนที่สงสัยนี้บางส่วนได้รับการยืนยันว่าติดเชื้อไวรัส ชนิด H1N1 ที่มีลักษณะทางพันธุกรรมเปลี่ยนไป
และการเกิดโรคดังกล่าวในทั้ง ๒ ประเทศนี้เป็นการระบาดจากคนไปสู่คน และยังไม่พบการระบาดจากสุกรสู่คนแต่อย่างใด
๒. อธิบายแนวทางการปฏิบัติงานเฝ้าระวัง ป้องกันโรค Swine Influenza
ของกรมปศุสัตว์ ดังนี้
๒.๑ แจ้งปศุสัตว์อำเภอทุกอำเภอเพื่อเฝ้าระวังโรคในสุกรหากมีสุกรป่วยหรือตายผิดปกติให้เจ้าของสัตว์แจ้งสัตวแพทย์เพื่อเข้าชันสูตรหาสาเหตุการป่วยและตายต่อไป
๒.๒ กรมปศุสัตว์ได้ประกาศงดการนำเข้าสุกรมีชีวิต และซากสุกรจากประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศอื่นๆ ที่มีรายงานของโรคดังกล่าว
๒.๓ กรมปศุสัตว์ได้ประสานสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ แจ้งให้สมาชิกมีการเฝ้าระวังโรคอย่างเข้มงวด
๒.๔ ในส่วนการเคลื่อนย้ายสุกรมีชีวิตและซากสุกร ขณะนี้ยังสามารถเคลื่อนย้ายได้ตามปกติ เพราะสุกรมีชีวิตและซากสุกรมาจากฟาร์มที่ผ่านการรับรองจากกรมปศุสัตว์และผ่านการตรวจรับรองสถานกักกันสัตว์และกักเก็บซากสัตว์เอกชน นอกจากนี้ก่อนที่จะเคลื่อนย้ายสัตว์หรือซาดสัตว์จะมีสัตวแพทย์ไปตรวจสอบสุขภาพและสุขอนามัยก่อนอนุญาตให้เคลื่อนย้าย
๓. แนะนำเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรดังนี้
การป้องกันโรค
๓.๑.ให้มีการสุขาภิบาลการเลี้ยงสุกรที่ดี
- ทำคอกให้สะอาด ไม่ชื้นแฉะ มีอากาศถ่ายเทได้สะดวกสุกรไม่อยู่ในที่หนาวเย็น ร้อนหรือถูกฝนมากเกินไป
- ให้อาหารที่มีคุณภาพ ถูกสัดส่วน และสะอาด รวมทั้งเสริมวิตามินในอาหารสุกรเพื่อเพิ่มความสมบูรณ์และลดความเครียดของสัตว์
- เข้มงวดตรวจสอบให้นำสุกรที่ปลอดโรคเข้าเลี้ยงในฟาร์ม
- เข้มงวดการเข้าออกฟาร์มของบุคคลและยานพาหนะ โดยใช้น้ำฆ่าเชื้ออย่างสม่ำเสมอ
- เกษตรกรควรปรับระบบการเลี้ยงให้เข้าสู่ระบบฟาร์มมาตรฐาน ซึ่งจะช่วยป้องกันการเกิดโรคระบาดและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสุกรที่มีคุณภาพตามความต้องการของตลาด ปลอดภัยต่อสุขภาพของผู้เลี้ยงสุกรและผู้บริโภค โดยเกษตรกรติดต่อรายละเอียดการจัดทำมาตรฐานฟาร์มได้ที่ปศุ
สัตว์อำเภอในพื้นที่หรือปศุสัตว์จังหวัด
๓.๒ สังเกตอาการป่วยของสุกรในฝูงอย่างสม่ำเสมอโดยอาการของสุกรที่ป่วยด้วยโรคไข้หวัดสุกรจะแสดงอาการมีไข้ ซึม เบื่ออาหาร ไอจามน้ำมูกไหล หากพบอาการดังกล่าวให้แจ้งเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์ทราบภายใน๒๔ ชั่วโมง
๓.๓ หลีกเลี่ยงการเลี้ยงสัตว์ปีกในบริเวณเดียวกับที่เลี้ยงสุกร เพื่อลดโอกาสที่จะเกิดการรวมพันธุกรรมระหว่างเชื้อไวรัส ไข้หวัดนก และไข้หวัดสุกร
๓.๔ ห้ามผู้ป่วยที่มีอาการทางเดินหายใจ เช่น เป็นหวัด ไอจาม เข้าในคอกเลี้ยงสุกร หากผู้เลี้ยงสุกรหรือผู้ที่สัมผัสสุกรมีอาการป่วยในระบบทางเดินหายใจ ให้รีบไปพบแพทย์ทันที
การควบคุมโรค
-.สุกรที่แสดงอาการป่วยให้รักษาตามอาการเช่นฉีดยาปฎิชีวนะหรืออาจต้องให้สารน้ำหากจำเป็นส่วนสุกรที่เลี้ยงร่วมฝูงให้ยาปฎิชีวนะโดยผสม
ยาให้สุกรกิน เพื่อลดการแทรกซ้อนของเชื้อแบคทีเรียตามคำแนะนำของสัตวแพทย์
-ใช้ยาฆ่าเชื้อทำความสะอาดคอก เช่นกลุ่มกลูตารอลดีไฮด์ กลุ่มแอมโมเนียมคลอไรด์ กลุ่มไอโอดีน โดยหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดการฟุ้ง
กระจาย ซึ่งเชื้อไวรัสตัวนี้นอกจากจะถูกทำลายได้ง่ายด้วยยาฆ่าเชื้อโรคแล้ว ยังสามารถทำลายด้วยความร้อนที่อุณหภูมิ ๕๖ องศาเซลเซียส
นาน ๓ ชั่วโมง หรือ ๖๐ องศาเซลเซียส นาน ๓๐ นาที- งดการเคลื่อนย้ายสุกรหรือสับเปลี่ยนคอกในช่วงที่พบการเกิดโรค
เนื่องจากอาจทำให้โรคแพร่กระจายได้ง่าย
๔. สิ่งสำคัญขอให้ประชาชนอย่าตื่นตระหนก เพราะโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ที่พบในเม็กซิโกยังตรวจไม่พบในประเทศไทยและยังสามารถ
บริโภคเนื้อสุกรได้โดยปรุงสุก และเนื้อสุกรต้องมาจากแหล่งที่กรมปศุสัตว์รับรองและขอให้ประชาชนดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง หมั่น
ออกกำลังกาย กินอาหารที่มีประโยชน์ล้างมือทุกครั้งก่อนรับประทานอาหาร
ประเด็นสัมภาษณ์ผู้บริหาร
􀂃 สายพันธุ์ไข้หวัดสุกรมาจากอะไร
ตอบ เกิดจากเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ type A ตระกูล Orthomyxoviridae เนื่องจากสารพันธุกรรมเป็นชนิดRNA และมี 8 ท่อน จึงมีโอกาสเกิดการกลายพันธุ์ และการแลกเปลี่ยนสารพันธุกรรมระหว่างไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ที่มาจากมนุษย์ สัตว์ปีก รวมทั้งสุกรได้ง่าย สุกรทำหน้าที่เป็นถังผสม “mixing vessel”เนื่องจากสุกรมีตัวรับ (receptor) บนผิวเซลล์ที่เหมือนกับของคนและสัตว์ปีก ทำให้สุกรสามารถติดไวรัสไข้หวัดใหญ่ในคนหรือ สัตว์ปีกได้ จึงทำให้มีโอกาสเกิดการแลกเปลี่ยนสารพันธุกรรมของเชื้อไวรัสไข้หวัดสุกรได้สูงเชื้อไวรัสไข้หวัดสุกรที่พบส่วนใหญ่เป็นชนิด H1N1 และ H3N2 เริ่มมีรายงานการตรวจพบ H1N2subtype ในประเทศต่างๆ เพิ่มมากขึ้น และมีแนวโน้มว่าจะพบการระบาดแทนสายพันธุ์ H1N1 และ H3N2
􀂃 สุกรที่ติดเชื้อจะแสดงอาการอย่างไร
ตอบ สุกรที่ติดเชื้อจะแสดงอาการทางระบบหายใจแบบเฉียบพลัน มีไข้สูง ซึม เบื่ออาหาร ไอ จาม มีน้ำมูกอัตราการป่วยอาจสูงถึง 100% แต่สุกรจะฟื้นและหายป่วยอย่างรวดเร็วภายใน 5-7 วัน มักไม่พบการตายถ้าไม่มีการติดเชื้อแทรกซ้อน มีผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจต่ออุตสาหกรรมการเลี้ยงสุกร โดยเฉพาะในสุกรหลังหย่านม ทำให้สุกรสูญเสียน้ำหนักในช่วงที่แสดงอาการ ทำให้ระยะเวลาที่ใช้ในการขุนสุกรนานขึ้นในสุกรตั้งท้องอาจทำให้เกิดการแท้งเนื่องจากมีไข้สูง เชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่เป็นเชื้อปฐมภูมิ ทำให้สุกรสามารถติดเชื้อแทรกซ้อนได้ง่าย และจัดเป็นหนึ่งในสาเหตุของโรคระบบทางเดินหายใจซับซ้อนในสุกร(Porcine Respiratory Disease Complex,PRDC)
􀂃 วิธีการแพร่ระบาดของโรค
ตอบ โรคนี้สามารถติดต่อทั้งทางตรงและทางอ้อมระหว่างสุกรด้วยกัน โดยเชื้อไวรัสจะปะปนในอากาศเมื่อสุกรไอหรือจาม หรือจากการกินอาหารและน้ำร่วมกัน หลังจากการติดโรคสุกรทุกตัวในฝูงจะป่วยภายใน 2-3วันต่อมา และเชื้อไวรัสจะถูกขับออกมาจากสุกรแม้จะหายป่วยจากโรคนี้แล้วนานถึง 3 เดือน
􀂃 ระยะฟักตัวของโรคนานเท่าไหร่
ตอบ สั้นมาก อาจจะเป็นเวลา 2-3 ชั่วโมง จนกระทั่งนานหลายวัน แต่โดยทั่วไปจะประมาณ 2-6 วัน
􀂃 มีการเฝ้าระวังโรคที่เกิดขึ้นในสุกรอย่างไร
ตอบ 1. สังเกตอาการป่วยของสุกรในฝูงอย่างสม่ำเสมอโดยอาการของสุกรที่ป่วยด้วย โรค Swine Influenzaจะแสดงอาการมีไข้ ซึม น้ำหนักลด หายใจลำบาก ไอจาม น้ำมูกไหล หากพบอาการดังกล่าวให้แจ้งเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์ทราบภายใน 24 ชั่วโมง
2. เมื่อเจ้าหน้าที่กรมปศุสัตว์ได้รับรายงานการแจ้งสุกรป่วยจากเกษตรกร จะเข้าตรวจสอบและดำเนินการเก็บตัวอย่างเลือดและตัวอย่างจากการป้ายจมูกส่งห้องปฏิบัติการ วิธีการตามสิ่งที่ส่งมาด้วยและแนะนำให้เกษตรกรปฏิบัติดังนี้
- ห้ามเคลื่อนย้ายสุกรหรือสับเปลี่ยนคอกในช่วงที่พบการเกิดโรค
- สุกรที่แสดงอาการป่วยให้รักษาตามอาการ เช่น ฉีดยาปฎิชีวนะหรืออาจต้องให้สารน้ำหากจำเป็น ส่วนสุกรที่เลี้ยงร่วมฝูงให้ยาต้านจุลชีพโดยผสมยาให้สุกรกินเพื่อลดการแทรกซ้อนของเชื้อแบคทีเรียตามคำแนะนำของสัตวแพทย์
- ใช้ยาฆ่าเชื้อทำความสะอาดคอก โดยหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดการฟุ้งกระจาย
􀂃 การป้องกันโรคและการควบคุมโรคทำอย่างไร
ตอบ
การป้องกันโรค
1. สังเกตอาการป่วยของสุกรในฝูงอย่างสม่ำเสมอโดยอาการของสุกรที่ป่วยด้วยโรค Swine Influnza จะแสดงอาการมีไข้ ซึม น้ำหนักลด หายใจลำบาก ไอจาม น้ำมูกไหล หากพบอาการดังกล่าวให้แจ้งเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์ทราบภายใน 24 ชั่วโมง
2. หลีกเลี่ยงการเลี้ยงสัตว์ปีกในบริเวณเดียวกับที่เลี้ยงสุกร เพื่อลดโอกาสที่จะเกิดการรวมพันธุกรรมระหว่างเชื้อไวรัส Avian Influenza และ Swine Influenza
3. ห้ามผู้ป่วยที่มีอาการทางเดินหายใจเข้าในคอกเลี้ยงสุกร
4. ให้มีการสุขาภิบาลการเลี้ยงสุกรที่ดี เช่น คอกสะอาด ไม่ชื้นแฉะ มีอากาศ ถ่ายเทได้สะดวกไม่อยู่ในที่หนาว เย็น ร้อน หรือถูกฝนมากเกินไปและเสริมวิตามินในอาหาร ตลอดจนเข้มงวดตรวจสอบให้นำสุกรที่ปลอดโรคเข้าเลี้ยงในฟาร์ม และเข้มงวดการเข้าออกจากฟาร์มของบุคคลและยานพาหนะ
การควบคุมโรค
1. ห้ามเคลื่อนย้ายสุกรหรือสับเปลี่ยนคอกในช่วงที่พบการเกิดโรค
2. สุกรที่แสดงอาการป่วยให้รักษาตามอาการ เช่น ฉีดยาปฎิชีวนะหรืออาจต้องให้สารน้ำหากจำเป็นส่วนสุกรที่เลี้ยงร่วมฝูงให้ยาต้านจุลชีพโดยผสมยาให้สุกรกินเพื่อลดการแทรกซ้อนของเชื้อแบคทีเรียตามคำแนะนำของสัตวแพทย์
3. ใช้ยาฆ่าเชื้อทำความสะอาดคอก โดยหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดการฟุ้งกระจายโดยเชื้อไวรัส influenza ถูกทำลายได้ง่ายด้วยความร้อน (เช่นที่อุณหภูมิ 56oC นาน 3 ชั่วโมง ที่อุณหภูมิ 60oC นาน 30 นาที) และสารเคมีต่างๆ เช่น สารที่มีคุณสมบัติในการละลายไขมัน (lipid solvents), formalin, beta-propiolactone,oxidizing agents, sodium dodecylsulfate, hydroxylamine, ammonium ions และ iodine compounds
􀂃 โรคไข้หวัดสุกรสามารถเกิดจากการจัดการฟาร์มที่ไม่ได้มาตรฐาน หรือโรงฆ่าสัตว์ที่ไม่สะอาดได้หรือไม่
ตอบ มีโอกาสเกิดขึ้นได้ รวมทั้งสามารถเกิดโรคอื่นๆได้อีกหลายโรค เนื่องจากการจัดการฟาร์มและการสุขาภิบาลที่ไม่ได้มาตรฐาน เช่น คอกชื้นแฉะ ไม่สะอาด อากาศถ่ายเทไม่สะดวก หรือการเลี้ยงรวมกับสัตว์ชนิดอื่นๆ เช่น สัตว์ปีก ซึ่งจะทำให้ฟาร์มนั้นกลายเป็นแหล่งของเชื้อโรค รวมทั้งสัตว์จะเกิดความเครียดทำให้สัตว์อ่อนแอ และป่วยได้ง่าย
􀂃 ประเทศที่มีการประกาศห้ามการนำเข้าสินค้าปศุสัตว์ประเภทเนื้อสุกร และผลิตภัณฑ์จากเนื้อสุกรจากประเทศสหรัฐอเมริกา และประเทศเม็กซิโก ได้แก่ประเทศอะไรบ้าง
ตอบ ประเทศอินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ รัสเซีย และจีน นอกจากนี้ประเทศที่ประกาศเฝ้าระวังการนำเข้าสินค้าดังกล่าวอย่างเข้มงวด คือ ประเทศเกาหลี
􀂃 การกินเนื้อสุกรจะปลอดภัยหรือไม่?
ตอบ ยังไม่มีหลักฐานว่าโรคไข้หวัดสุกรจะสามารถแพร่ผ่านการกินเนื้อสุกรที่ติดเชื้อ แต่อย่างไรก็ตามการบริโภคเนื้อสุกรที่ปรุงสุกที่อุณหภูมิ 70 องศาเซลเซียส (158 องศาฟาเรนไฮน์) ซึ่งจะสามารถแน่ใจว่าฆ่าเชื้อไวรัสได้
􀂃 ควรจะกังวลเกี่ยวกับการระบาดนี้หรือไม่?
ตอบ เมื่อพบการระบาดของเชื้อไวรัสตัวใหม่ที่สามารถติดต่อได้ระหว่างคนสู่คน ดังนั้น จึงต้องมีการเฝ้าติดตามผู้ป่วยอย่างใกล้ชิดเพื่อป้องกันการระบาดใหญ่ องค์การอนามัยโรคได้เตือนว่าการที่พบผู้ป่วยทั้งในประเทศเม็กซิโกและอเมริกาอาจจะเป็นจุดที่ทำให้มีการแพร่ระบาดไปทั่วโลก และเห็นว่าสถานการณ์เช่นนี้น่าเป็นห่วง และถือว่าระดับของการระบาดในปัจจุบันนี้อยู่ในระดับ 3 (จากทั้งหมด 6 ระดับ) คือมีการระบาดเป็นบางจุด ซึ่งจากอดีตที่ผ่านมาพบว่าการระบาดของเชื้อ H1N1 หรือ Spanish flu ได้เคยมีการระบาดไปทั่วโลกในปี 1918 โดยพบว่าประชากรในโลกถึง 40 เปอร์เซ็นต์ที่ติดเชื้อ และมีคนตายมากกว่า50 ล้านคน โดยเฉพาะในเด็กอย่างไรก็ตามในการระบาดที่ผ่านมาในครั้งนี้ ผู้ป่วยทั้งหมดในอเมริกา มีอาการไม่รุนแรง ซึ่งเป็นตัวบ่งบอกได้ว่าความรุนแรงที่เกิดขึ้นในเม็กซิโก อาจเนื่องจากปัจจัยที่เฉพาะของพื้นที่และไม่น่าจะทำให้เกิดการระบาดไปยังส่วนอื่นๆ ของโลก
􀂃 แล้วไข้หวัดนกเป็นอย่างไร?
ตอบ เชื้อไข้หวัดนกชนิด H5N1 ที่มีการระบาดและทำให้คนตายในแถบทวีปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นั้นแตกต่างจากไวรัสที่กำลังระบาดในปัจจุบัน ซึ่งเกิดจากไวรัส H1N1 ตัวใหม่ โดยก่อนหน้านี้นักวิชาการได้คาดการณ์ว่าเชื้อ H5N1 จะเป็นตัวที่ทำให้เกิดการระบาดใหญ่เนื่องด้วยความสามารถของเชื้อในการกลายพันธุ์อย่างรวดเร็ว แต่สถานการณ์ที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบันพบว่าโรคนี้เกิดมากเฉพาะในสัตว์ปีกส่วนคนที่ติดเชื้อนั้นมักจะเกิดจากการใกล้ชิดกับสัตว์ปีกป่วยเป็นโรค ส่วนการติดต่ะจากคนสู่คนนั้นยังไม่มีหลักฐานที่ชัดเจนนักว่าเชื้อนี้ระบาดจากคนสู่คนได้ง่าย__
ข้อมูลเหล่านี้ได้มาจากการรวบรวมจาก หลายเว็บไซต์