...ยินดีต้อนรับท่านสู่...โครงการของสำนักงานปศุสัตว์อำเภอพรหมคีรี...จังหวัดนครศรีธรรมราช...ภายใต้การบริหารจัดการ..ของ...นายมนัส ชุมทอง...ปศุสัตว์อำเภอพรหมคีรี...

วันเสาร์ที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

โรค PRRS ในสุกร

การติดต่อ
เชื้อไวรัสจะถูกขับออกมาจากร่างกายของสุกรป่วย ทางอุจาระปัสสาวะลมหายใจ และน้ำเชื้อ และติดต่อไปยังสุกรตัวอื่นโดยการกิน หรือการสัมผัสโดยตรง เช่น การดม การเลีย หรือการผสมพันธุ์ นอกจากนี้ยังสามารถติดต่อผ่านอากาศที่หายใจ หรือผ่านวัสดุ อุปกรณ์และเครื่องใช้ต่าง ๆ ภายในฟาร์มที่ปนเปื้อนเชื้อไวรัส
เชื้อไวรัสสามารถแพร่ระบาดจากฟาร์มหนึ่งไปยังอีกฟาร์มหนึ่งได้โดยการเคลื่อนย้ายสุกรป่วย หรือสุกรที่เป็นพาหะของโรคเข้ามารวมฝูง โดยทั่วไปพบว่าเชื้อไวรัสที่ถูกขับออกจากร่างกายสุกรป่วย สามารถแพร่กระจายจากจุดเกิดโรคไปในอากาศได้ไกลถึงรัศมี 3 กิโลเมตร และหากมีองค์ประกอบของแรงลมเข้ามาเกี่ยวข้อง อาจทำให้โรคแพร่กระจายได้ไกลขึ้น นอกจากนี้ยังพบว่า โรคสามารถแพร่ระบาดผ่านทางน้ำเชื้อของพ่อพันธุ์ไปยังฟาร์มอื่น ๆ ได้ โดยเฉพาะการผสมเทียม หรือแพร่เชื้อ ผ่านวัสดุ อุปกรณ์ หรือยานพาหนะ ที่ปนเปื้อนเชื้อไวรัส รวมทั้งนก หนู หรือบุคลากรจากฟาร์มหนึ่งไปอีกฟาร์มหนึ่ง ส่วนการแพร่เชื้อไวรัสผ่านเนื้อสุกรหรือผลิตภัณฑ์จากเนื้อสุกรยังไม่เป็นที่ชัดเจน
อาการ

โดยลำพังเชื้อไวรัสพี อาร์ อาร์ เอส เพียงอย่างเดียว ไม่สามารถทำให้สุกรแสดงอาการให้เห็นอย่างเด่นชัด แต่ต้องอาศัยปัจจัยอื่น ๆ มาประกอบกัน จึงทำให้แสดงอาการของโรคได้ อาการ และความรุนแรงของโรคขึ้นอยู่กับชนิดของเชื้อไวรัส การจัดการดูแลสุขภาพสัตว์ความสะอาดในฟาร์ม การถ่ายเทอากาศภายในโรงเรือน และสุขภาพของสุกรในฝูง

เมื่อมีการติดเชื้อไวรัส พี อาร์ อาร์ เอส ครั้งแรกในฟาร์ม เชื้อจะแพร่ระบาดไปอย่างรวดเร็วสุกรพันธุ์จะแท้งในช่วงท้ายของการตั้งท้อง มีลูกตายแรกคลอด หรืออ่อนแอ แคระแกร็น โตช้า สุกรดูดนมจะมีปัญหาเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ เชื้อไวรัสที่แพร่ระบาดในฟาร์มนี้จะกระตุ้น ให้สุกรส่วนใหญ่สร้างภุมิคุ้มกัน หลังจากนั้นเชื้อจะแพร่ระบาดในฟาร์มอย่างช้า ๆ การสูญเสียจะไม่รุนแรงส่วนใหญ่สร้างภูมิคุ้มกัน หลังจากนั้นเชื้อจะแพร่ระบาดในฟาร์มอย่างช้า ๆ การสูญเสียจะไม่รุนแรงส่วนใหญ่จะเป็นลักษณะแอบแฝง เช่น ผลผลิตต่ำ หรือ มีการติดเชื้อแทรกซ้อนจากแบคทีเรียหรือไวรัสตัวอื่น ๆ ซึ่งปัญหาที่พบหลังจากที่ผ่านการระบาดครั้งแรกมาแล้ว คือ ปัญหาระบบทางเดินหายใจในสุกรหย่านม เนื่องจากภูมิคุ้มกันโรคที่ได้รับถ่ายทอดจากแม่ลดลง
การวินิจฉัยโรค
การวินิจฉัยโรคโดยการตรวจหาภูมิคุ้มกัน โรคต่อเชื้อพี อาร์ อาร์ เอส และการตรวจแยกพิสูจน์เชื้อ โดยการเก็บตัวอย่างซีรั่มจากแม่สุกรที่แท้งลูก สุกรที่แท้งหรือตายแรกคลอด ซีรั่มของลูกสุกรป่วยหรืออวัยวะ เช่น ต่อมน้ำเหลือง ทอนซิล ม้าม ปอด หรือส่งทั้งตัว โดยแช่เย็นในกระติกน้ำแข็ง และนำส่งทันที ถ้าไม่สามารถส่งตรวจได้ในวันนั้น ให้เก็บแช่ช่องแข็งและควรส่งตรวจ ภายใน 3 วัน โดยส่งตรวจได้ที่ สถาบันสุขภาพสัตว์แห่งชาติ กรมปศุสัตว์
การรักษา
เนื่องจากโรค พี อาร์ อาร์ เอส มีสาเหตุจากเชื้อไวรัสจึงยังไม่มียารักษาโดยเฉพาะ การรักษาสุกรที่ป่วยโรคนี้ จึงเป็นการรักษาตามอาการป่วย และการบำรุงร่างกายสัตว์ป่วย เช่น การให้สารเกลือแร่ วิตามิน การเปลี่ยนสูตรอาหารที่ให้พลังงานสูง และให้ยาปฏิชีวนะ เพื่อป้องกันการติดเชื้อแทรกซ้อน ซึ่งอาจให้โดยการฉีด ผสมน้ำ หรือผสมอาหาร
การป้องกันโรค

1. สุกรที่จะนำเข้ามาทดแทนในฝูง ควรมาจากแหล่งที่ปลอดเชื้อไวรัสพี อาร์ อาร์ เอส

2. ก่อนจะนำสุกรใหม่เข้ามารวมฝูง ควรทำการกักกันอย่างน้อย 2 ขั้นตอน คือ กักที่ต้นทางก่อนการเคลื่อนย้าย และกักที่ปลายทางก่อนนำเข้ารวมฝูง ซึ่ง ระหว่างที่กักควรสุ่มตรวจหาโรค โดยวิธีทางซีรั่มวิทยาด้วย

3. จำกัดและควบคุมการเข้าออกฟาร์ม โดยอาจให้มีการเปลี่ยนเสื้อผ้า หรือพ่น น้ำยาฆ่าเชื้อก่อนเข้าฟาร์ม

4. ปัจจุบัน วัคซีนสำหรับป้องกันโรคพี อาร์ อาร์ เอส ที่มีอยู่ ยังมีข้อจำกัดใน การใช้อยู่หลายประการ ซึ่งเกษตรกรควรคำนึงถึง ดังนี้

4.1 ราคาแพง ดังนั้นควรคำนึงถึงความคุ้มทุน โดยเปรียบเทียบค่าใช้จ่ายในการทำวัคซีน และความสูญเสียที่จะเกิดขึ้นกรณีที่ไม่ใช้วัคซีน เพราะโรคนี้ หากมีการจัดการที่ดี จะไม่ทำให้ เกิดอาการที่รุนแรง

4.2 ชนิดของเชื้อที่นำมาทำวัคซีน หากไม่ใช่เชื้อชนิดเดียวกัน หรือใกล้เคียงกับชนิดที่ทำให้เกิดโรคในฟาร์มจะให้ภูมิคุ้ม กันโรคที่ไม่ดี

4.3 ภูมิคุ้มกันที่เกิดขึ้นและตรวจพบจากซีรั่มไม่สามารถแยก ได้ว่าเกิดจากวัคซีนหรือการติดเชื้อ

4.4 วัคซีนที่ผลิตจากเนื้อเยื่อที่ไม่บริสุทธิ์ อาจนำโรคอื่น ๆ ติด มาถึงสุกรได้

4.5 การใช้วัคซีนเชื้อเป็นเชื้อไวรัสสามารถผ่านออกมาทางน้ำ เชื้อได้เป็นเวลานาน และอาจมีผลให้ตัวอสุจิมีรูปร่างผิดปกติและเคลื่อนไหวช้าลง นอกจากนี้ในสุกรอุ้มท้อง อาจผ่านรกไปถึงลูกอ่อน ทำให้เกิดการติดเชื้อในลูกอ่อนได้
ที่มา....http://www.doae.go.th/library/html/detail/a-web/index.html
โรค พี อาร์ อาร์ เอส
(PRRS: Porcine reproductive and respiratory syndrome)
เป็นโรคหรือกลุ่มอาการในระบบสืบพันธุ์และระบบทางเดินหายใจในสุกร มีสาเหตุ
มาจากเชื้อไวรัส Family Arteriviridae ชนิด PRRS virus
การติดต่อ
สุกรป่วยจะขับเชื้อไวรัสออกมากับอุจจาระ ปัสสาวะ ลมหายใจ น้ำเชื้อ และ
สิ่งคัดหลั่ง เช่น น้ำมูก น้ำเมือก ดังนั้นการแพร่เชื้อไปยังสุกรตัวอื่น จะเกิดได้โดย
การดม การเลีย การกินอาหาร–น้ำร่วมกัน การผสมพันธุ์ และการติดเชื้อผ่านทาง
อุปกรณ์–เครื่องมือในฟาร์มที่มีเชื้อไวรัสปนเปื้อน การแพร่ระบาดของเชื้อจาก
ฟาร์มหนึ่งไปยังอีกฟาร์มหนึ่งเกิดขึ้นได้ โดยการนำสุกรป่วยหรือสุกรที่เป็นพาหะ
ของโรคเข้าร่วมฝูง นอกจากนี้เชื้อไวรัสที่ถูกขับออกมาจากร่างกายสุกรก็สามารถ
แพร่กระจายไปในอากาศได้ไกลถึง 3 กิโลเมตร

อาการ
ในแม่สุกร จะแท้งในช่วงท้ายของการตั้งท้อง ลูกตายแรกคลอด หรือหาก
ลูกไม่ตายแรกคลอด จะมีอาการอ่อนแอ แคระแกร็น โตช้า
ในลูกสุกรและสุกรขุน จะมีปัญหาในระบบทางเดินหายใจ ลำพังเชื้อไวรัส
PRRS เพียงอย่างเดียวไม่ทำให้สุกรแสดงอาการอย่างเด่นชัด แต่จะมีปัจจัยอื่น ๆ
มาร่วมด้วย เช่น สุขภาพของสุกร การมีโรคอื่นแทรกซ้อน การสุขาภิบาลภายใน
ฟาร์ม ปัจจัยเครียดต่างๆ เป็นต้น
เชื้อไวรัส PRRS ที่แพร่ระบาดภายในฟาร์มจะกระตุ้นให้สุกรส่วนใหญ่สร้าง
ภูมิคุ้มกัน จากนั้นเชื้อไวรัสจะแพร่ระบาดในฟาร์มอย่างช้า ๆ ดังนั้นการสูญเสียจึง
ไม่รุนแรง แต่มักเป็นการสูญเสียแบบแอบแฝง เช่น สุกรให้ผลผลิตต่ำ ติดเชื้อ
แทรกซ้อนจากเชื้อโรคตัวอื่นได้ง่าย
ลูกสุกรมีอาการหูบวมน้ำ
แม่สุกรแท้งลูกออกมาในลักษณะมัมมี่
แม่สุกรแท้งลูกออกมาในลักษณะตายแรกคลอด
การวินิจฉัยโรค
ทำได้ 2 ทาง คือ การตรวจหา Antigen และ การตรวจหา Antibody
1. การตรวจหา antigen สามารถทำได้โดยนำอวัยวะจากสุกร ได้แก่ ต่อม
ทอนซิล ปอด ม้าม ต่อมน้ำเหลือง แช่เย็นส่งไปตรวจทางห้องปฏิบัติการ โดยใช้
เทคนิคต่างๆ ได้แก่
1.1 Tissue culture
1.2 Fluorescence antibody technique (FA)
1.3 Immunohistochemistry (IHC)
1.4 Polymerase chain reaction (PCR)
2. การตรวจหา antibody สามารถตรวจ antibody ได้จาก serum หรือ body
fluid จากลูกที่แท้งหรือลูกที่ตายแรกคลอด โดยใช้เทคนิค เช่น ELISA (Enzyme
linked immunosorbent assay) หรือ IPMA (Immuno peroxidase monolayer
assay)

การรักษา
ไม่มีการรักษาโรค PRRS โดยตรง เพราะเป็นโรคที่มีสาเหตุเนื่องมาจากเชื้อ
ไวรัส การรักษาที่สามารถทำได้คือ การรักษาตามอาการ และการให้ยาปฏิชีวนะ
ป้องกันการติดเชื้อโรคแทรกซ้อนร่วมกับการให้ยาหรือสารอาหารเพื่อบำรุงร่างกาย
การป้องกันโรค

1. การนำสุกรเข้ามาทดแทนในฝูง ต้องมั่นใจว่านำมาจากแหล่งที่ปลอดโรค PRRS
และก่อนนำสุกรตัวใหม่เข้าร่วมฝูง ต้องทำการกักเพื่อทดสอบโรคทางซีรั่ม
วิทยาด้วย เพื่อให้มั่นใจสุกรทดแทนดังกล่าวปลอดโรค PRRS จริง
2. มีมาตรการควบคุมการเข้า–ออกฟาร์ม เช่น การใช้น้ำยาฆ่าเชื้อโรคพ่นรถยนต์
การเปลี่ยนเสื้อผ้า และ/หรือ อาบน้ำร่วมกับการพ่นน้ำยาฆ่าเชื้อก่อนเข้าฟาร์ม
เป็นต้น
3. การใช้วัคซีน ปัจจุบันวัคซีนป้องกันโรค PRRS ยังมีข้อจำกัดในการใช้
หลายประการ ได้แก่
3.1 เนื่องจาก PRRS virus มีหลายไทป์ ดังนั้นหากใช้วัคซีนต่างไทป์ ก็จะได้
ภูมิคุ้มกันโรคไม่ดีพอ
3.2 การตรวจหาระดับภูมิคุ้มกันจากซีรั่มไม่สามารถแยกได้ว่าเป็นภูมิคุ้มกันจาก
การทำวัคซีน หรือจากการติดเชื้อ
3.3 การใช้วัคซีนเชื้อเป็นจะส่งผลทำให้สุกรขับเชื้อไวรัสผ่านออกมากับน้ำอสุจิ

ได้เป็นเวลานาน บางรายมีผลทำให้ตัวอสุจิมีรูปร่างผิดปกติ และ

เคลื่อนไหวช้าลง ในสุกรอุ้มท้องเชื้อไวรัสอาจผ่านรกไปสู่ลูกอ่อน ทำให้

ลูกสุกรติดเชื้อได้

3.4 วัคซีนมีราคาแพง ซึ่งเกษตรกรต้องคำนวณเกี่ยวกับความคุ้มทุน โดย

เปรียบเทียบค่าใช้จ่ายในการทำวัคซีน กับความสูญเสียที่อาจเกิดขึ้นจาก

การไม่ใช้วัคซีน เพราะโรคนี้หากมีการจัดการฟาร์มที่ดีก็ไม่ทำให้เกิดอาการรุนแรง

การควบคุมโรค
1. มีการสุขาภิบาลและการจัดการฟาร์มที่ดี
2. การเฝ้าระวังโรค PRRS ในฟาร์มโดยการทำ serological profiles โดยเจาะ
เลือดตรวจโรคทุก 4 เดือน ดังนี้
ในแม่สุกรหลังคลอด 1 สัปดาห์ สุ่มตรวจ 5 – 10 ตัว/ครั้ง
ในแม่สุกรหลังคลอด 3 สัปดาห์ สุ่มตรวจ 5 – 10 ตัว/ครั้ง
ในลูกสุกรอายุ 4,6,8,10 สัปดาห์ สุ่มตรวจ กลุ่มละ 5 – 10 ตัว/ครั้ง
ในสุกรสาวทดแทนพร้อมผสม สุ่มตรวจ 5 – 10 ตัว/ครั้ง
การตรวจรับรองฟาร์มปลอดโรคPRRSในฟาร์มสุกรพ่อแม่พันธุ์
1. คุณสมบัติของฟาร์มที่จะเข้าร่วมโครงการ
1.1 เป็นฟาร์มมาตรฐานที่ได้รับการรับรองจากกรมปศุสัตว์
1.2 มีระบบรักษาความปลอดภัยทางชีวภาพ (high biosecurity) และการ
จัดการฟาร์มที่ดี
1.3 เป็นฟาร์มสุกร SPF (Specific pathogen free) หรือฟาร์มสร้างใหม่
หรือฟาร์มเดิมที่ผ่านการทำการลดจำนวน (depopulation) ของสุกรใน
ฟาร์ม แล้วทำความสะอาดฆ่าเชื้อและพักฟาร์มระยะหนึ่งก่อนนำสุกร
ชุดใหม่เข้าเลี้ยง
2. ขั้นตอนในการตรวจและรับรองฟาร์มปลอดโรค PRRS ในฟาร์มสุกรพ่อ-
แม่พันธุ์
2.1 ผู้ประกอบการที่มีความพร้อม ให้ยื่นคำร้องขอการตรวจรับรองสถานภาพ
ฟาร์มปลอดโรค PRRS ได้ที่ สถาบันสุขภาพสัตว์แห่งชาติ กรมปศุสัตว์
เพื่อดำเนินการตามขั้นตอนดังต่อไปนี้
2.2 การตรวจครั้งที่ 1 ให้ทางฟาร์มเก็บตัวอย่างซีรัมและส่งตัวอย่างที่ กลุ่ม
ไวรัสวิทยา สถาบันสุขภาพสัตว์แห่งชาติ กรมปศุสัตว์ เพื่อตรวจ
แอนติบอดีต่อเชื้อ PRRS ด้วยวิธี ELISA และตรวจ RNA ของเชื้อไวรัส

ด้วยวิธี reverse transcriptase polymerase chain reaction (RT-PCR)

โดยเก็บตัวอย่างซีรัมจาก สุกรพ่อ-แม่พันธุ์ทุกตัว ที่อยู่ในฟาร์ม

(100%) รวม 10-20 ตัวอย่างซีรัม เป็น 1 ตัวอย่าง สำหรับตรวจ RNA

ในลูกสุกร ให้เก็บตัวอย่างซีรัมจำนวน 15 ตัว/กลุ่มอายุ ที่อายุ 4,8,12,16

และ 20 สัปดาห์ (ที่ความชุกของการติดเชื้อ 20% ความเชื่อมั่นในการ

ตรวจ 95%)

2.3 การตรวจครั้งที่ 2 เก็บตัวอย่างซีรัมห่างจากครั้งแรก 2-3 สัปดาห์ จากสุกร

พ่อ-แม่พันธุ์ทุกตัวในฟาร์ม (100%) และลุกสุกรจำนวน 15 ตัว/กลุ่มอายุ

และตรวจซ้ำด้วย 2 วิธีดังกล่าว

2.4 กรมปศุสัตว์จะออกใบรับรองฟาร์มปลอดโรค PRRS ให้แก่ทางฟาร์ม เมื่อ

ตรวจไม่พบแอนติบอดี และ RNA ของเชื้อ PRRS จากการตรวจทั้ง 2 ครั้ง

ติดต่อกัน โดยที่ใบรับรองฟาร์มปลอดโรค PRRS มีอายุใช้งาน 1 ปี นับแต่

วันออกใบรับรอง

2.5 สุกรทดแทนนำเข้า ต้องมาจากฟาร์มที่ปลอดโรค PRRS ก่อนนำเข้าร่วมฝูง

ต้องมีการพักในโรงเรือนแยกต่างหากช่วงระยะเวลาหนึ่ง เพื่อเตรียมพร้อม

และปรับสภาพ และต้องผ่านการตรวจสถานภาพของโรค PRRS ด้วย 2

วิธีดังกล่าว โดยเก็บตัวอย่างซีรัมสุกรทดแทนทุกตัว ณ วันแรกที่มาถึง

ฟาร์ม และ 1 เดือนหลังจากนั้น สุกรทดแทนที่ผ่านการตรวจว่าปลอดโรค

PRRS จึงสามารถนำเข้ารวมฝูงได้

2.6 เมื่อฟาร์มได้รับการรับรองว่าปลอดโรค PRRS แล้ว จะทำการตรวจซ้ำด้วย

2 วิธีดังกล่าว ทุก ๆ 4 เดือน (3 ครั้ง/ปี) โดยสุ่มตรวจสุกรพ่อ-แม่พันธุ์ใน

ฝูง ที่ความชุกของการติดเชื้อ 5% ความเชื่อมั่นในการตรวจ 95% และลูก

สุกรที่อายุต่าง ๆ จำนวน 15 ตัว/กลุ่มอายุ

2.7 ในกรณีที่ไม่ผ่านการทดสอบในการตรวจครั้งใดครั้งหนึ่ง จะถูกถอน

ใบรับรองฟาร์มปลอดโรค PRRS และเมื่อผู้ประกอบการมีความพร้อม ให้

ยื่นคำขอการตรวจรับรองใหม่ โดยต้องเริ่มตรวจใหม่ทั้งหมดตามขั้นตอน

2.5-2.6

3. ค่าใช้จ่ายในการตรวจ

3.1 ตรวจทางซีรัมวิทยา โดยวิธี ELISA 250 บาท/ตัวอย่าง

3.2 ตรวจ RNA ของเชื้อไวรัส 1,500 บาท/ตัวอย่าง(รวมตัวอย่างซีรัม

จากสุกร 10-20 ตัว เป็น 1 ตัวอย่าง)

การคำนวณที่ความชุกของการติดเชื้อ 5% ความเชื่อมั่นในการตรวจ

95%

ฝูงสุกรขนาด 500 แม่ ต้องเก็บตัวอย่างสุกร 65 ตัว

600-1,200 แม่ ต้องเก็บตัวอย่างสุกร 57 ตัว

1,400-4,000 แม่ ต้องเก็บตัวอย่างสุกร 58 ตัว

>5,000 แม่ ต้องเก็บตัวอย่างสุกร 59 ตัว

(อ้างอิงจาก Cannon,R.M. and Roe., R.T ; Livestock Disease Surveys: A

Field Manual for Veterinarians,1982)

นิยามที่ใช้ในการตรวจรับรองฟาร์มปลอดโรคPRRS

ฟาร์ม หมายถึง ฟาร์มที่ผลิตสุกรที่ปลอดโรค PRRS

ฟาร์มมาตรฐาน หมายถึง ฟาร์มที่ผ่านการตรวจรับรองมาตรฐานฟาร์มเลี้ยงสุกร

ตามประกาศของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ลงวันที่ 3 พฤศจิกายน 2542

ผู้ประกอบการ หมายถึง เจ้าของฟาร์มที่ขอรับรองการตรวจเป็นฟาร์มปลอดโรค

PRRS

การรับรองฟาร์มปลอดโรค PRRS หมายถึง ฟาร์มที่ผ่านการตรวจตามขั้นตอน

ที่กำหนดว่าปลอดจากโรค PRRS

ใบรับรองฟาร์มปลอดโรค PRRS หมายถึง ใบรับรองที่ทางกรมปศุสัตว์ออก

ให้แก่ฟาร์มที่ผ่านการตรวจรับรองตามขั้นตอนที่กำหนด โดยที่ใบรับรองมีอายุใช้

งาน 1 ปี นับแต่วันออกใบรับรอง

ที่มา...http://www.dld.go.th/region6/water/job/PRRS.pdf

โรคไข้หวัดสุกร

ความรู้เรื่อง โรคไข้หวัดสุกรสำหรับเกษตร
โรคไข้หวัดสุกร ทำให้เกิดโรคระบบทางเดินหายใจชนิดเฉียบพลันในสุกรทุกช่วงอายุ
มีผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจต่ออุตสาหกรรมการเลี้ยงสุกร โดยสาเหตุจากการติดเชื้อไวรัสไข้หวัดสุกร
คือไวรัสไข้หวัดใหญ่ชนิดเอ (Type A) ตระกูลเดียวกันกับเชื้อไวรัสไข้หวัดนก
อาการ
สุกรที่ติดเชื้อจะแสดงอาการทางระบบหายใจแบบเฉียบพลัน มีไข้สูง ซึม เบื่ออาหาร ไอ จาม
มีน้ำมูก อัตราการป่วยอาจสูงถึง 100% แต่สุกรจะฟื้นและหายป่วยอย่างรวดเร็วภายใน 5-7 วัน มักไม่พบ
การตายถ้าไม่มีการติดเชื้อแทรกซ้อน มีผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจต่ออุตสาหกรรมการเลี้ยงสุกร
โดยเฉพาะในสุกรหลังหย่านม ทำให้สุกรสูญเสียน้ำหนักในช่วงที่แสดงอาการ ทำให้ระยะเวลาที่ใช้ใน
การขุนสุกรนานขึ้น ในสุกรตั้งท้องอาจทำให้เกิดการแท้งเนื่องจากมีไข้สูง เชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่เป็นเชื้อ
ปฐมภูมิ ทำให้สุกรสามารถติดเชื้อแทรกซ้อนได้ง่าย และจัดเป็นหนึ่งในสาเหตุของโรคระบบทางเดิน
หายใจซับซ้อนในสุกร (Porcine Respiratory Disease Complex,PRDC)
รอยโรค
พบการอักเสบ และเนื้อตาย ตลอดช่องทางเดินหายใจ มีเลือดคั่งในปอดและช่องทางเดินหายใจ
พบการเกิดเนื้อตายเป็นหย่อมๆ และถุงลมปอดแฟบเป็นบางส่วน
การเก็บตัวอย่างส่งตรวจ
สัตวแพทย์จะดำเนินการเก็บตัวอย่างส่งตรวจวินิจฉัยโรคทางห้องปฎิบัติการ ดังนี้
- เก็บตัวอย่างป้ายจมูก จากสุกรที่เริ่มแสดงอาการป่วย ระยะมีไข้สูง น้ำมูกไหล แล้วรีบนำส่ง
ห้องปฎิบัติการภายใน 24 ชั่วโมง โดยการแช่เย็น
- กรณีซากที่ตายใหม่ๆ ให้เก็บตัวอย่างป้ายหลอดลม และปอด
การรักษา ป้องกัน และควบคุม
1. ให้มีการสุขาภิบาลการเลี้ยงสุกรที่ดี
1.1 ทำคอกให้สะอาด ไม่ชื้นแฉะ มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก สุกรไม่อยู่ในที่หนาว เย็น
ร้อน หรือถูกฝนมากเกินไป
1.2 ให้อาหารที่มีคุณภาพ ถูกสัดส่วน และสะอาด รวมทั้งเสริมวิตามินในอาหารสุกร เพื่อ
เพิ่มความสมบูรณ์และลดความเครียดของสัตว์
1.3 เข้มงวดตรวจสอบให้นำสุกรที่ปลอดโรคเข้าเลี้ยงในฟาร์ม
1.4 เข้มงวดการเข้าออกฟาร์มของบุคคลและยานพาหนะ โดยใช้น้ำฆ่าเชื้ออย่างสม่ำเสมอ
1.5 เกษตรกรควรปรับระบบการเลี้ยงให้เข้าสู่ระบบฟาร์มมาตรฐาน ซึ่งจะช่วยป้องกัน
การเกิดโรคระบาดและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสุกรที่มีคุณภาพตามความต้องการ
ของตลาด ปลอดภัยต่อสุขภาพของผู้เลี้ยงสุกรและผู้บริโภค โดยเกษตรกรติดต่อ
รายละเอียดการจัดทำมาตรฐานฟาร์มได้ที่ปศุสัตว์อำเภอในพื้นที่หรือปศุสัตว์จังหวัด
2. สังเกตอาการป่วยของสุกรในฝูงอย่างสม่ำเสมอโดยอาการของสุกรที่ป่วยด้วยโรคไข้หวัดสุกร
จะแสดงอาการมีไข้ ซึม เบื่ออาหาร ไอจาม น้ำมูกไหล หากพบอาการดังกล่าวให้แจ้งเจ้าหน้าที่
ปศุสัตว์ทราบภายใน 24 ชั่วโมง
3. หลีกเลี่ยงการเลี้ยงสัตว์ปีกในบริเวณเดียวกับที่เลี้ยงสุกร เพื่อลดโอกาสที่จะเกิดการรวม
พันธุกรรมระหว่างเชื้อไวรัส ไข้หวัดนก และ ไข้หวัดสุกร
4. ห้ามผู้ป่วยที่มีอาการทางเดินหายใจ เช่น เป็นหวัด ไอจาม เข้าในคอกเลี้ยงสุกร
การควบคุมโรค
1. สุกรที่แสดงอาการป่วยให้รักษาตามอาการเช่นฉีดยาปฎิชีวนะหรืออาจต้องให้สารน้ำหาก
จำเป็น ส่วนสุกรที่เลี้ยงร่วมฝูงให้ยาปฎิชีวนะโดยผสมยาให้สุกรกิน เพื่อลดการแทรกซ้อนของ
เชื้อแบคทีเรียตามคำแนะนำของสัตวแพทย์
2. ใช้ยาฆ่าเชื้อทำความสะอาดคอก เช่น กลุ่มกลูตารอลดีไฮด์ กลุ่มแอมโมเนียมคลอไรด์
กลุ่มไอโอดีน เป็นต้น โดยหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดการฟุ้งกระจาย ซึ่งเชื้อไวรัสตัวนี้นอกจากจะถูก
ทำลายได้ง่ายด้วยยาฆ่าเชื้อโรคแล้ว ยังสามารถทำลายด้วยความร้อนที่อุณหภูมิ 56 องศา
เซลเซียส นาน 3 ชั่วโมง หรือ 60 องศาเซลเซียส นาน 30 นาที
3. งดการเคลื่อนย้ายสุกรหรือสับเปลี่ยนคอกในช่วงที่พบการเกิดโรค เนื่องจากอาจทำให้โรค
แพร่กระจายได้ง่าย
คำแนะนำสำหรับเกษตรกรในการป้องกันและควบคุมโรคไข้หวัดในสุกร
การป้องกันโรค
๑.ให้มีการสุขาภิบาลการเลี้ยงสุกรที่ดี
๑.๑ ทำคอกให้สะอาด ไม่ชื้นแฉะ มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก สุกรไม่อยู่ในที่หนาวเย็น ร้อน
หรือถูกฝนมากเกินไป
๑.๒ ให้อาหารที่มีคุณภาพ ถูกสัดส่วน และสะอาด รวมทั้งเสริมวิตามินในอาหารสุกร
เพื่อเพิ่มความสมบูรณ์และลดความเครียดของสัตว์
๑.๓ เข้มงวดตรวจสอบให้นำสุกรที่ปลอดโรคเข้าเลี้ยงในฟาร์ม
๑.๔ เข้มงวดการเข้าออกฟาร์มของบุคคลและยานพาหนะ โดยใช้น้ำฆ่าเชื้ออย่างสม่ำเสมอ
๑.๕ เกษตรกรควรปรับระบบการเลี้ยงให้เข้าสู่ระบบฟาร์มมาตรฐาน ซึ่งจะช่วยป้องกันการ
เกิดโรคระบาดและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสุกรที่มีคุณภาพตามความต้องการของ
ตลาด ปลอดภัยต่อสุขภาพของผู้เลี้ยงสุกรและผู้บริโภค โดยเกษตรกรติดต่อ
รายละเอียดการจัดทำมาตรฐานฟาร์มได้ที่ปศุสัตว์อำเภอในพื้นที่หรือปศุสัตว์จังหวัด
๒. สังเกตอาการป่วยของสุกรในฝูงอย่างสม่ำเสมอโดยอาการของสุกรที่ป่วยด้วยโรคไข้หวัดสุกร
จะแสดงอาการมีไข้ ซึม เบื่ออาหาร ไอจาม น้ำมูกไหล หากพบอาการดังกล่าวให้แจ้งเจ้าหน้าที่
ปศุสัตว์ทราบภายใน ๒๔ ชั่วโมง
๓. หลีกเลี่ยงการเลี้ยงสัตว์ปีกในบริเวณเดียวกับที่เลี้ยงสุกร เพื่อลดโอกาสที่จะเกิดการรวม
พันธุกรรมระหว่างเชื้อไวรัส ไข้หวัดนก และ ไข้หวัดสุกร
๔. ห้ามผู้ป่วยที่มีอาการทางเดินหายใจ เช่น เป็นหวัด ไอจาม เข้าในคอกเลี้ยงสุกร หากผู้เลี้ยงสุกร
หรือผู้ที่สัมผัสสุกรมีอาการป่วยในระบบทางเดินหายใจ ให้รีบไปพบแพทย์ทันที
การควบคุมโรค
๑.สุกรที่แสดงอาการป่วยให้รักษาตามอาการเช่นฉีดยาปฎิชีวนะหรืออาจต้องให้สารน้ำหากจำเป็น
ส่วนสุกรที่เลี้ยงร่วมฝูงให้ยาปฎิชีวนะโดยผสมยาให้สุกรกิน เพื่อลดการแทรกซ้อนของเชื้อ
แบคทีเรียตามคำแนะนำของสัตวแพทย์
๒.ใช้ยาฆ่าเชื้อทำความสะอาดคอก เช่นกลุ่มกลูตารอลดีไฮด์ กลุ่มแอมโมเนียมคลอไรด์
กลุ่มไอโอดีน โดยหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดการฟุ้งกระจาย ซึ่งเชื้อไวรัสตัวนี้นอกจากจะถูกทำลาย
ได้ง่ายด้วยยาฆ่าเชื้อโรคแล้ว ยังสามารถทำลายด้วยความร้อนที่อุณหภูมิ ๕๖ องศาเซลเซียส
นาน ๓ ชั่วโมง หรือ ๖๐ องศาเซลเซียส นาน ๓๐ นาที
๓. งดการเคลื่อนย้ายสุกรหรือสับเปลี่ยนคอกในช่วงที่พบการเกิดโรค เนื่องจากอาจทำให้โรค
แพร่กระจายได้ง่าย
ที่มา....http://www.dld.go.th/vrd_sp/svrdc/index1.htm

การดำเนินการเมื่อพบสุกรสงสัยว่าเป็นโรค PRRS

การดำเนินการเมื่อพบสุกรสงสัยว่าเป็นโรค PRRS


เมื่อปศุสัตว์อำเภอได้รับแจ้งว่ามีสุกรป่วย-ตาย ให้ดำเนินการ ดังนี้
1) ตรวจสอบข้อมูลในเบื้องต้นแล้วพบสุกรป่วยและมีลักษณะใกล้เคียงหรือตรงตามคำนิยามโรค
PRRS และดำเนินการสอบสวนโรคในเบื้องต้นโดยด่วน
2) ให้สำนักงานปศุสัตว์อำเภอดำเนินการเก็บตัวอย่างตามข้อ 2.1 และ 2.2 ดังนี้
2.1) เก็บตัวอย่างจากสุกร กำลังป่วยใกล้ตาย หรือซากสุกรที่ตายใหม่ไปยังศูนย์วิจัยและ
พัฒนาการสัตวแพทย์ (ศวพ.) ที่รับผิดชอบพื้นที่ หรือ สถาบันสุขภาพสัตว์แห่งชาติ (สสช.)
2.2) ผ่าซากและเก็บตัวอย่างจากอวัยวะที่สำคัญ เช่น ทอนซิล ปอด ตับ ม้ามไต หัวใจ โดย
ในขั้นตอนการผ่าซากให้เป็นไปตามหลักวิชาการและป้องกันโรคปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อมด้วย
3) แนวทางการควบคุมโรค ดังนี้
3.1) สั่งกักสุกรภายในสถานที่เกิดโรค หากเป็นไปได้ ควรให้เจ้าของเป็นผู้ดำเนินการแยก
สัตว์ป่วย (isolation) จากสัตว์ที่มีอาการปกติ
3.2) แนะนำให้เกษตรกรดำเนินการ
? เผา หรือ ฝังซากสุกรที่ตาย โดยให้ฝังซากสุกรใต้ระดับผิวดินไม่น้อยกว่า50เซนติเมตร และถ้าเป็นสัตว์ใหญ่ให้พูนดินกลบเหนือระดับผิวดินไม่น้อยกว่า 50 เซนติเมตร โดยใช้สารเคมีทำลายเชื้อโรคราด หรือโรยที่ส่วนต่างๆ ของซากสัตว์จนทั่ว และเลือกสถานที่ฝังซากสุกรที่ไม่มีน้ำท่วมขัง
- กักกันและแยกสัตว์ที่อยู่ร่วมฝูงกับสัตว์ที่ป่วย-ตาย
- ปัดกวาดทำความสะอาดเล้าและพื้นที่เลี้ยงสัตว์ด้วยน้ำผงซักฟอก (detergent cleansing) หรือ ทำการพ่น/ราดน้ำยาฆ่าเชื้อโรค (disinfection) ให้ทั่วบริเวณที่เสี่ยงต่อการปนเปื้อนของ
เชื้อโรค อย่างน้อย สัปดาห์ละ 1 ครั้งหรืออย่างน้อยจนกว่าจะไม่พบสุกรป่วยและจัดให้มีอ่างใส่น้ำยาฆ่าเชื้อโรคสำหรับบุคคลที่เข้า-ออกคอกสัตว์